พุยพุย

วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บันทึกเพิ่มเติม
วันที่ไม่มีการเรียนการสอน

วันที่ 22 สิงหาคม 2559 “ อาจารย์ติดราชการ (ประชุม) ”
วันที่ 12 กันยายน 2559 “ อาจารย์ติดราชการ (ประชุม) ”
วันที่ 26 กันยายน 2559 “ สัปดาห์สอบกลางภาค ”
วันที่ 24 ตุลาคม 2559   “ วันหยุดชดเชย วันปิยมหาราช ”

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14

วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน 2559 เวลา 09.00-12.00 น.
  • วันนี้ เป็นชั่วโมงสุดท้ายในการเรียนการสอน แต่ไม่ได้มีกิจกรรมอะไรมาก อาจารย์ได้นัดหมายให้นักศึกษาทั้ง 2 กลุ่มเรียน มาประชุมเกี่ยวกับการลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนที่ 2 รวมทั้งการบอกรายละเอียดเกี่ยวกับแนวข้อสอบต่าง ๆ 
  • และมีการเช็คใบปั๊มทั้งวิชา การให้การศึกษาผู้ปกครองเด็กปฐมวัย และวิชาการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย จากนั้นก็สรุปว่า ใครจะได้รางวัลเด็กดี และได้สีเมจิกคนละ 1 ชุด




รางวัลเด็กดี จากอาจารย์ตฤณ แจ่มถิน




รางวัลเด็กดี จากอาจารย์กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด


          วันนี้ รู้สึกดีใจมากที่ได้รับรางวัลเด็กดีกับอาจารย์ทั้ง 2 ท่าน ซึ่งเป็นรางวัลที่ทรงคุณค่า เป็นกำลังในการเรียน ในการทำความดีต่อไป ขอบพระคุณอาจารย์ที่เอาใจใส่และนำรางวัลเด็กดีที่มีคุณค่านี้มาให้กับนักศึกษาค่ะ...

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน 2559

  • วันนี้ เป็นวันที่มาจัดโครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ที่ศูนย์สุขภาพชุมชนเสรีภาพ อ่อนนุชร่วมใจ โดยดำเนินกิจกรรมตามกำหนดการ ดังนี้


 
ภาพกิจกรรม











วัตถุดิบการทำแซนด์วิช















แบบสะท้อนการทำโครงการ (สิริกัลยา)
จากการทำโครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย (โครงการสุขภาพอนามัยที่ดี นำความสุขสู่ครอบครัว) ถือว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับดิฉันและสมาชิกในกลุ่ม เพราะปกติแล้ว เมื่อออกไปสถานที่ภายนอก หรือไปศึกษาดูงาน จะมีอาจารย์พาไป และคอยควบคุมการทำกิจกรรมต่าง ๆ แต่การทำโครงการในครั้งนี้ พวกเราเป็นผู้ลงมือทำเองเกือบจะทั้งหมด อาจารย์เป็นผู้ให้คำแนะนำและอยู่เบื้องหลังในการทำโครงการ ซึ่งถือว่าเป็นประสบการณ์ใหม่ ๆ ในการเรียนรู้ความเป็นอยู่ของชุมชน และเป็นการนำความรู้ที่เราเรียน ไปเผยแพร่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันกับผู้ปกครอง โดยภาพรวมแล้ว การดำเนินโครงการก็สามารถสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี อาจมีปัญหาบ้างเล็กน้อย แต่ทุกคนในกลุ่มก็ช่วยกันทำให้เกิดความสมบูรณ์มากขึ้น ต้องขอขอบพระคุณอาจารย์กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด ที่ให้คำปรึกษาอย่างเป็นกันเอง ขอบคุณนางสาวเกตุวรินทร์ นามวา ที่ติดต่อเรื่องสถานที่การดำเนินโครงการ รวมทั้งสมาชิกในกลุ่มทุกคนที่ร่วมมือร่วมใจกัน มีความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย จนทำให้โครงการนี้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

การนำความรู้มาประยุกต์ใช้
  • การทำโครงการนั้น ทำให้เราได้ลงพื้นที่จริง ได้พบกับสถานการณ์ต่าง ๆ พบกับปัญหาที่จะต้องช่วยกันแก้ไข รวมทั้งทำให้เรามีทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอข้อมูล แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อนำมาใช้ในการทำงาน หรือทำโครงการในครั้งต่อ ๆ ไปให้ดียิ่งขึ้น นอกจากการไปให้ความรู้ผู้ปกครองแล้ว เรายังสามารถนำมากิจกรรม ความรู้ต่าง ๆ เหล่านี้ มาประยุกต์ใช้กับคนในครอบครัว หรือคนรอบข้าง เพื่อจะได้มีสุขภาพอนามัยที่ดี และส่งผลให้ครอบครัวนั้นมีความสุขมากยิ่งขึ้น
การประเมินผลการทำโครงการ
  • โครงการสุขภาพอนามัยที่ดี นำความสุขสู่ครอบครัวสามารถสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ บรรยากาศในการจัดกิจกรรมหรือการจัดทำโครงการ เป็นกันเอง มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างผู้ปกครองและนักศึกษา ผู้ปกครองทุกคนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการทำกิจกรรม และเพื่อน ๆ ทุกคนก็ต่างรับผิดชอบหน้าที่ของตนเองได้ดีมาก รวมทั้งเจ้าของสถานที่ก็ใจดีมาก ให้ความอนุเคราะห์และช่วยเหลือต่าง ๆ โดยภาพรวมแล้ว ประทับใจในการทำโครงการในครั้งนี้ และจะพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นในการทำโครงการครั้งต่อไป

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2559
  • วันนี้ เป็นการจัดเตรียมเอกสารต่าง ๆ ของโครงการ ตรวจสอบความถูกต้อง ความเรียบร้อย เพื่อนำไปเสนอให้อาจารย์เซ็นรับรองโครงการ และเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับเนื้อหา เอกสาร วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จะนำไปใช้ในการจัดทำโครงการการให้ความรู้ผู้ปกครอง ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2559
ตัวอย่างเอกสารโครงการบางส่วน
(โครงการ สุขภาพอนามัยที่ดี นำความสุขสู่ครอบครัว)

ชื่อโครงการ สุขภาพอนามัยที่ดีนำความสุขสู่ครอบครัว

หลักการและเหตุผล
          สุขภาพอนามัยเป็นปัจจัยสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของเด็กปฐมวัยให้สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดี ที่อยู่อาศัยน่าอยู่และอยู่ร่วมกันกับผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครอง อย่างสงบสุข มีความสะดวกสบาย สะอาด สุขอนามัย มีความปลอดภัย ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการ และความคิดสร้างสรรค์อย่างเหมาะสม โดยมุ่งหวังให้เด็กได้รับการพัฒนาให้มีความสมบูรณ์ทางกาย สังคม และจิตวิญญาณ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ และครูผู้ดูแลเด็ก ได้รับการส่งเสริมให้สามารถทำงานได้อย่างมีความสุขกาย สบายใจ อีกทั้งผู้ปกครองและชุมชนมีบทบาทสำคัญยิ่ง ที่จะทำให้เด็กได้รับการปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพ ทั้งด้านการดูแลสุขภาพตนเอง และดูแลความสะอาดของสิ่งแวดล้อม อันจะส่งผลให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ สุขภาพแบ่งเป็น 3 ประเภทคือพฤติกรรมการป้องกันโรค preventive Health Behavior คือการปฏิบัติของบุคคลเพื่อมิให้โรคนั้นเกิดขึ้น ได้แก่ การออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การไม่สูบบุหรี่ การคาดเข็มคัดนิรภัยเมื่อขับขี่รถยนต์ เป็นต้น พฤติกรรมเมื่อเจ็บป่วย Illness Behavior คือการปฏิบัติที่บุคคลกระทำเมื่อมีอาการผิดปกติ ได้แก่ การเพิกเฉย การถามเกี่ยวกับอาการของตน การแสวงหาการรักษาพยาบาล การหลบหนีจากสังคม เป็นต้น พฤติกรรมที่เป็นบทบาทของการเจ็บป่วย Sick Role Behavior คือการปฏิบัติที่บุคคลกระทำหลังจากได้ทราบผลการวินิจฉัยโรคแล้ว เช่น การรับประทานยาตามแพทย์สั่ง การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย การลดหรือเลิกกิจกรรมที่ทำให้อาการของโรคยิ่งมีมากขึ้น
          ดังนั้น คณะผู้จัดทำจึงได้จัดทำโครงการสุขภาพอนามัยที่ดีนำความสุขสู่ครอบครัวเพราะต้องการให้ผู้ปกครองและเด็กปฐมวัยมีสุขอนามัยที่ดี  เพื่อเป็นการนำความรู้ที่ได้จากวิชาที่เรียน นำไปแบ่งปันให้กับชุมชนหรือผู้ปกครอง ทำให้ผู้ปกครองเกิดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยมากยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์
1.เพื่อแบ่งปันความรู้ให้ผู้ปกครองมีความรู้และตระหนักความสำคัญเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพอนามัยที่ดีของเด็กปฐมวัย
2.เพื่อให้ผู้ปกครองสามารถนำความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพอนามัยที่ดีไปใช้ในชีวิตประจำวันในครอบครัวได้
เนื้อหา / หลักสูตร
โครงการสุขภาพอนามัยที่ดีนำความสุขสู่ครอบครัว  คณะผู้จัดทำจะให้ความรู้ผู้ปกครองเกี่ยวกับ
สุขภาพอนามัย อาทิเช่น ความสะอาด สุขอนามัยขั้นตอนการล้างมือ รวมถึงการให้ความรู้ผู้ปกครองในเรื่องของสุขภาพอนามัย เด็กวัยเรียนเป็นช่วงวัยของการมีสุขภาพที่ดี เด็กมีพลังที่จะเรียนรู้และปฏิบัติ พฤติกรรมการดูแลตนเองเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย ได้แก่ การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน สุขอนามัยส่วนบุคคล การรับประทานอาหาร การพักผ่อนนอนหลับ การออกกำลังกาย และการป้องกันโรคเพื่อดำรงไว้ซึ่งภาวะสุขภาพ ที่ดี

เป้าหมาย
-              เป้าหมายเชิงปริมาณ ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยประมาณ 24 คน
-              เป้าหมายเชิงคุณภาพ จากการเข้าร่วมโครงการสุขภาพอนามัยที่ดีนำความสุขสู่ครอบครัวผู้ปกครองเด็กปฐมวัยเข้าใจถึงสุขภาพอนามัยที่ดี

วันเวลาและสถานที่
          วันอาทิตย์ ที่ 27 พฤศจิกายน พ.. 2559 เวลา 10.00 – 13.00 .
          ณ ศูนย์สุขภาพชุมชนเสรีภาพ อ่อนนุชร่วมใจ 70/1 เขตประเวศ แขวงประเวศ กรุงเทพมหานคร 10250 

รูปแบบการจัดโครงการ / เทคนิค
-                   - การอบรมเชิงปฏิบัติการ มีการให้ความรู้ผู้ปกครองเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยที่ดี
-                   - บรรยายเกี่ยวกับสุขอนามัย
-                   - สาธิตวิธีการล้างมือและเต้นประกอบเพลงการล้างมือ
-                   - สอนทำแซนด์วิช
d

 แผนการดำเนินงาน


 งบประมาณรวมทั้งสิ้น 1,200 บาท
ค่าใช้สอย รวมทั้งสิ้น 700 บาท
  ค่าอาหาร      เป็นเงิน 500 บาท
  ค่าอาหารว่าง เป็นเงิน 200 บาท

ค่าวัสดุ    รวมทั้งสิ้น 500 บาท
  ค่าถ่ายเอกสาร                              เป็นเงิน 50 บาท
  ค่าฟิวเจอร์บอร์ดและอุปกรณ์ตกแต่ง       เป็นเงิน 180 บาท
  ค่ารถ                                                 เป็นเงิน 270 บาท


ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพอนามัยที่ดีและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในครอบครัวได้

การติดตามและประเมินโครงการ
-                   จากแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
-                   จากการประชุมวิเคราะห์และการประเมินผลโครงการ

 ผู้รับผิดชอบโครงการ
1.       นางสาวชื่นนภา เพิ่มพูล                          ประธาน
2.       นางสาวสิริกัลยา บุญทนแสนทวีสุข          รองประธาน
3.       นางสาวเกตุวรินทร์ นามวา                       กรรมการ
4.       นางสาวบงกช เพ่งหาทรัพย์                     กรรมการ
5.       นางสาวพรประเสริฐ กลับผดุง                   กรรมการ
6.       นางสาวยุคลธร ศรียะลา                           กรรมการและเลขานุการ
แบบติดตามประเมินความพึงพอใจ โครงการ “สุขภาพอนามัยที่ดี นำความสุขสู่ครอบครัว”

ตอนที่ 1 สถานภาพของผู้ตอบ

            เกี่ยวข้องกับเด็กเป็น          O พ่อ     O แม่     O ป้า     O ลุง     O น้า    O อื่น ๆ ระบุ...................
อายุ                               O ต่ำกว่า 20 ปี      O  20-29 ปี        O 30-39 ปี            
                                    O 40-49 ปี           O 50-59 ปี         O มากกว่า 60 ปี           
อาชีพ                             O เกษตรกร  O ค้าขาย  O รับราชการ  O รัฐวิสาหกิจ  O อื่น ๆ ระบุ...................

ตอนที่ 2 ความพึงพอใจต่อโครงการ
 
ข้อเสนอแนะอื่น ๆ
................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

บอร์ดให้ความรู้ผู้ปกครอง



แผ่นพับให้ความรู้ผู้ปกครอง

เพลงใช้ประกอบการบรรยาย


การนำความรู้มาประยุกต์ใช้
  • การพิมพ์เอกสารของโครงการ ทำให้เราได้ทราบกระบวนการทำงานต่าง ๆ รวมถึงทักษะในการใช้ภาษา ทักษะการพิมพ์งาน การตกแต่งผลงาน หลักการต่าง ๆ ของแต่ละหัวข้อ ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการพิมพ์งานอื่น ๆ ที่เราต้องทำในชีวิตประจำวัน ให้มีความถูกต้อง และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
การประเมินผล

ประเมินตนเอง  :  รับผิดชอบในงานที่ตนเองได้รับมอบหมาย และช่วยเหลืองานอื่น ๆ ในกลุ่ม ที่สามารถทำได้ด้วยความเต็มใจ
ประเมินเพื่อน  :  เพื่อน ๆ มีความรับผิดชอบ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีการแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันตลอดเวลา
ประเมินอาจารย์  :  อาจารย์ใจดีมาก เป็นกันเอง ให้คำแนะนำได้เสมอเมื่อนักศึกษาไม่เข้าใจ ทั้งในและนอกห้องเรียน