พุยพุย

วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม 2559 เวลา 08.30-11.30 น.
เนื้อหาและความรู้ที่ได้รับ


          วันนี้อาจารย์สอนเรื่อง การเขียนโครงการให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ซึ่งองค์ประกอบของโครงการนั้น ประกอบไปด้วย
  1. ชื่อโครงการ (สำคัญมาก เพราะเป็นสิ่งที่จะบอกให้ทราบว่า เราจะทำอะไร โดยอาจตั้งชื่อแบบเจาะประเด็นหรือมีความหมายกว้าง ๆ ก็ได้)
  2. หลักการและเหตุผล (เป็นสิ่งที่บอกว่า ทำไมถึงทำโครงการนี้ ที่มาเป็นอย่างไร อาจจะอ้างทฤษฎีต่าง ๆ ที่สนับสนุน เกี่ยวข้องกับโครงการได้)
  3. วัตถุประสงค์ (เป็นความเรียง ไม่เกิน 3 บรรทัด หรือเป็นข้อ ไม่ควรเกิน 3-5 ข้อ)
  4. เนื้อหา/หลักสูตร
  5. เป้าหมาย
  6. วันเวลาและสถานที่
  7. รูปแบบการจัดโครงการ/เทคนิค
  8. แผนการดำเนินงาน 
  9. งบประมาณ (ค่าตอบแทน = คน/วิทยากร, ค่าใช้สอย = อาหาร/ค่าเดินทาง, ค่าวัสดุ = อุปกรณ์ต่าง ๆ โดยประมาณ)
  10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  11. การติดตามและประเมินโครงการ
  12. ผู้รับผิดชอบโครงการ
          กิจกรรมต่อมา คือ การทดลองเขียนโครงการ โดยให้แต่ละกลุ่มช่วยกันระดมความคิดว่าจะทำโครงการอะไร แล้วรายละเอียดของโครงการ มีอะไรบ้าง จากนั้นก็ให้ออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน เพื่อให้อาจารย์ช่วยให้คำแนะนำต่าง ๆ ได้

โครงการที่กลุ่มเราเขียน คือ โครงการสร้างสรรค์สื่อ สู่สายใยรักแห่งครอบครัว

   
ตัวอย่าง  การทำโครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
ของรุ่นพี่












การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • เมื่อได้ความรู้ เกี่ยวกับการเขียนโครงการ และได้ฝึกทดลองการเขียนโครงการ ก็ทำให้รู้ข้อผิดพลาด และสามารถนำไปเขียนโครงการจริง ๆ ได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น รู้แนวทาง วิธีการเขียนโครงการจากตัวอย่างของรุ่นพี่ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ นำไปพัฒนาต่อยอดในการทำโครงการต่อไป
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา และมีส่วนร่วมในการเขียนโครงการกับเพื่อนในกลุ่ม 
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ มีกิจกรรมที่จะทำโครงการที่หลากหลาย มีแนวคิดที่แปลกใหม่ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ๆ 
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ให้คำปรึกษาดีมาก เป็นกันเองกับนักศึกษา แนะนำแนวทางที่ดีที่ถูกต้องในการจัดทำโครงการ







บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม 2559 เวลา 08.30-11.30 น.

เนื้อหาและความรู้ที่ได้รับ         
          วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มนำเสนองานวิจัยที่ได้ศึกษามา เกี่ยวกับการให้ความรู้หรือการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง และมีใบประเมินให้ทุกคนในห้องเรียน ประเมินแต่ละกลุ่ม รวมทั้งกลุ่มของตนเองด้วย








แบบประเมินการนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
แบ่งรายการประเมินเป็น 3 รายการ
1. ความรู้ที่ได้รับจากการนำเสนอ
2. รูปแบบการนำเสนอมีความน่าสนใจ
3. การใช้ภาษาในการนำเสนอ
โดยแบ่งระดับคะแนนเป็น 3, 2, 1

กลุ่มที่ 1 นำเสนอเรื่อง การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย สำหรับผู้ปกครองจังหวัดมหาสารคาม (กลุ่มตนเอง)
กลุ่มที่ 2 นำเสนอเรื่อง การพัฒนาและประเมินการใช้โปรแกรมการให้ความรู้ผู้ปกครองไทยในการส่งเสริมทักษะทางการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษด้วยภาษาแบบโฟนิกส์
กลุ่มที่ 3 นำเสนอเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองกับความรู้ผู้ปกครองในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย
กลุ่มที่ 4 นำเสนอเรื่อง การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้ปกครองกับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน
กลุ่มที่ 5 นำเสนอเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองกับความรู้ผู้ปกครองในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย


          จากนั้น อาจารย์ก็พูดถึงเรื่อง การทำแบบสอบถามเพื่อสำรวจความต้องการของผู้ปกครอง เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจทำโครงการการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง การสำรวจความต้องการของผู้ปกครองนั้น เพื่อให้สามารถพัฒนาส่งเสริมพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก รวมทั้งการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็ก ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่างครู ผู้ปกครอง หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเด็ก

           ท้ายชั่วโมง อาจารย์ก็ให้ส่งข่าวสารประชาสัมพันธ์ถึงผู้ปกครอง ที่แต่ละคนได้ออกแบบและทำมาส่ง ซึ่งคนที่ส่งวันนี้ อาจารย์ก็ให้ดาวเด็กดีอีก 1 ดวง






การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • การนำเสนอวิจัยในวันนี้ ทำให้ได้เห็นรูปแบบการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยอย่างหลากหลายวิธี ซึ่งอาจารย์ก็จะให้คำแนะนำว่ากิจกรรมใดเหมาะสม กิจกรรมใดน่าสนใจ ที่เราจะสามารถนำไปพัฒนาต่อยอด ในการทำโครงการการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองได้ เพื่อให้การให้ความรู้นั้นเกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่ายอย่างสูงสุด 
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน และมีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่ม การนำเสนอ รวมทั้งมีความยินดีที่จะรับคำติชมไปปรับปรุงผลงานให้ดียิ่งขึ้น
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ มีการนำเสนอวิจัยที่หลากหลายรูปแบบ มีการเตรียมความพร้อมมาดี และให้ความร่วมมือในการให้สอบถาม หรือถาม-ตอบ เมื่อเพื่อนอยากทราบข้อมูลเพิ่มเติม
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพ และสอนอย่างมีความสุข ไม่เคร่งเครียด เปิดโอกาสให้นักศึกษาปรึกษาเมื่อไม่เข้าใจ