พุยพุย

วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2

วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม 2559 เวลา 08.30-11.30 น.

เนื้อหาและความรู้ที่ได้รับ
หลักเบื้องต้นในการให้การศึกษาแก่
ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย


          วันนี้อาจารย์พูดถึงบรรยากาศการรับปริญญาบัตรของพี่บัณฑิต และแจกใบปั๊มการเข้าเรียน (สัญลักษณ์ตัวปั๊มไก่ คือมาเรียนตรงเวลา ถ้าเป็นตัวปั๊มเสือ คือมาเรียนสาย ตอนนี้ได้ไก่ 2 ตัวแล้ว  ^___^)

  • ความหมายของการให้การศึกษาผู้ปกครอง
          การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง หมายถึง การให้ความรู้เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก เพราะเด็กอยู่ในความรับผิดชอบของสถาบันครอบครัว การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองถือเป็นกระบวนการทางสังคม ซึ่งสังคมมีหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ให้แก่บุคคลภายในสังคมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในสังคม ทั้งในและนอกระบบ การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองจึงเป็นการช่วยเหลือพ่อแม่ ผู้ปกครอง ตลอดจนผู้ที่เตรียมตัวจะเป็นพ่อแม่ให้ได้เรียนรู้ถึงวิธีการในการดูแล อบรมเลี้ยงดู และให้การศึกษาแก่เด็ก เพื่อให้เด็กเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพและได้รับประสบการณ์ที่มีคุณค่า เพื่อการพัฒนาตนต่อไปในอนาคต

  • ความสำคัญของการให้การศึกษาผู้ปกครอง
การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเป็นสิ่งสำคัญที่มีต่อการศึกษาเด็กปฐมวัย สรุปได้ดังนี้
          1. เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก
          2. เป็นการให้ผู้ปกครองได้เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองที่มีต่อการศึกษาของเด็ก
          3. ทำให้ลดความขัดแย้งในการดำเนินงานทางการศึกษา ช่วยให้การศึกษาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
          4. เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนสนับสนุนและพัฒนาการศึกษาของเด็ก
          5. ช่วยทำให้สถาบันครอบครัวมีความแข็งแรง
  • วัตถุประสงค์ในการให้การศึกษาผู้ปกครอง
การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองโดยสรุปมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
           1. เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการในการอบรมเลี้ยงดูเด็กและให้การศึกษาแก่เด็ก
           2. เพื่อให้ความรู้และวิธีการในการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่เด็ก
           3. เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวการศึกษาของเด็กที่โรงเรียนเพื่อให้ที่บ้านเข้าใจตรงกัน
           4. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองได้ตระหนักถึงบทบาทของตนเองในการมีส่วนร่วมส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่บุตรหลาน
           5. เพื่อให้ผู้ปกครองได้รับรู้และเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาให้แก่บุตรหลาน
  • รูปแบบในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
                   การจัดการศึกษาที่เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษา การให้ความรู้ผู้ปกครอง จึงมีความสำคัญที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ดำเนินงาน เพื่อจัดรูปแบบในการให้ความรู้เพื่อเข้าถึงเป้าหมาย รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถกระทำได้ด้วยวิธีการดังนี้
                   - การให้ความรู้แบบทางการ (formal)  เช่น การบรรยาย  การอภิปราย การโต้วาที ฯลฯ
                   - การให้ความรู้แบบไม่เป็นทางการ (informal) เช่น การระดมสมอง การประชุมโต๊ะกลม การประชุมกลุ่มย่อย
  • รูปแบบในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
สรุปออกเป็นลักษณะของฐานการเรียนรู้เป็น 3 รูปแบบ ดังนี้
          1. การใช้บ้านเป็นฐานในการเรียนรู้ (home base) เป็นการจัดกิจกรรมให้ความรู้กับผู้ปกครองถึงที่บ้าน เช่น การเยี่ยมบ้าน การส่งจดหมาย เอกสารถึงบ้าน การจัดทำโฮมสคูล (Home School)
          2. การใช้โรงเรียนเป็นฐานในการเรียนรู้ (school base) เป็นการจัดกิจกรรมความรู้ให้ผู้ปกครองที่โรงเรียน เช่น การจัดแสดงผลงานเด็ก    การประชุม การจัดสัมมนา การจัดนิทรรศการ การจัดมุมผู้ปกครอง
          3. การใช้ชุมชนเป็นฐานในการเรียนรู้ (community vase) เป็นการเผยแพร่ความรู้ผ่านชุมชน เช่น หมู่บ้าน วัด โบสถ์ มัสยิด วิทยุ โทรทัศน์ ระบบอินเตอร์เน็ต วารสาร นิตยสาร สื่อสิ่งพิมพ์ ฯลฯ ซึ่งกิจกรรมที่จัดโดยผ่านชุมชนประเภทต่างๆ พ่อแม่ ผู้ปกครองสามารถเลือกเรียนรู้ได้ตามความสนใจที่สอดคล้องกับสภาพทางครอบครัว สังคม และวัฒนธรรมของตนเอง นับเป็นแนวทางให้ความรู้ที่เหมาะสมกับผู้ปกครองในสังคมยุคปัจจุบันมากขึ้น

  •         แนวทางการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
 Linda  Bierstecker, 1992 ได้เสนอแนวทางในการเตรียมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองไว้ดังนี้
  1.          การวางแผน
  2.          ดำเนินการประชุม
  3.          ประเมินผลการประชุม
  4.          การออกจดหมายข่าวผลประชุม
  •         การมีส่วนร่วมของสังคมเพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย
              เด็ก > ครอบครัว > สถานศึกษา > ชุมชน > สังคม > รัฐบาล > สังคมโลก


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

  •      ทำให้มีความรู้เรื่องหลักเบื้องต้นในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย เพื่อจะได้นำไปใช้ในการให้ความรู้ การปฏิบัติตนที่ถูกต้องแก่ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัย ทั้งในขณะที่กำลังศึกษาและในการทำงาน
  •         ได้แนวคิดรูปแบบการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองที่หลากหลาย ซึ่งจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ เช่น การเยี่ยมบ้าน การจัดประชุม การทำกิจกรรมร่วมกันในชุมชน เป็นต้น
  •         สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับบุตร หลาน หรือคนในครอบครัวของตนเองได้ เพื่อที่จะส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการที่สมบูรณ์ตามวัย และช่วยให้การศึกษาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน และพยายามทำความเข้าใจในสิ่งที่อาจารย์สอนหรือยกตัวอย่าง
จดบันทึกใจความสำคัญไว้เสมอ
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียน และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่ออาจารย์และเพื่อนร่วมชั้น
ให้ความช่วยเหลือ ให้คำปรึกษาซึ่งกันและกัน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เตรียมการสอนมาดีมาก สอนเป็นลำดับขั้นตอน มีการยกตัวอย่าง
เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น และพร้อมให้คำปรึกษา เมื่อผู้เรียนเกิดความสงสัย


วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม 2559 เวลา 08.30-11.30 น.



เนื้อหาและความรู้ที่ได้รับ
          วันนี้เป็นวันเปิดเทอมวันแรก เนื้อหาสาระจึงเป็นเรื่องพื้นฐานต่าง ๆ ของรายวิชา เริ่มจากการทำความเข้าใจเกี่ยวกับรายวิชา ข้อตกลงต่าง ๆ และมอบหมายงานบางส่วน 
          เนื้อหาสาระที่เรียนในวันนี้คือ
  • ความหมายของผู้ปกครอง
          มีผู้ให้ความหมายของผู้ปกครองไว้หลายคน เช่น Summers Della, Encyclopedia, พรรณิดา สันติพงษ์, จินตนา ปัณฑวงศ์ เป็นต้น แต่สามารถสรุปความหมายของผู้ปกครองได้ดังนี้ ผู้ปกครอง หมายถึง ผู้ที่เป็นบิดา มารดา หรือบุคคลอื่นที่ให้การอบรมเลี้ยงดูให้การศึกษาแก่เด็กที่อยู่ในการดูแล ดังนั้นในการกล่าวถึงผู้ปกครองจึงมีความหมายรวมถึงบุคคลที่เป็นพ่อและแม่ด้วย
  •  ความสำคัญของผู้ปกครอง
          มีผู้ให้ความสำคัญของผู้ปกครองไว้หลายคน เช่น Lee Center and Marlene Center, 
Pestalozzi, ฉันทนา  ภาคบงกช โดยสรุปได้ดังนี้ "ผู้ปกครองมีความสำคัญซึ่งมีความใกล้ชิดกับเด็ก เป็นผู้ที่มีความหมายต่อชีวิตเด็กทั้งการเจริญเติบโตทางร่างกายและจิตใจเป็นผู้ที่เด็กมอบความรักด้วยความบริสุทธิ์ใจ ผู้ปกครองจึงเป็นผู้นำที่จะช่วยให้เด็กเจริญเติบโต มีพัฒนาการที่เหมาะสม เพื่อการก้าวสู่โลกกว้างได้อย่างมั่นคงและมีความพร้อมในทุกด้าน จึงถือว่าผู้ปกครองเป็นผู้เสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้วยความรัก ความเข้าใจให้แก่เด็กตั้งแต่เยาว์วัยเป็นรากฐานอนาคตของสังคมให้มีความสมบูรณ์และแข็งแรง"
  • บทบาทและหน้าที่ของผู้ปกครอง
          มีผู้กล่าวถึงบทบาทและหน้าที่ของผู้ปกครองไว้หลายคน เช่น Christine Ward, อารี สันหฉวี, กุลยา ตันติผลาชีวะ เป็นต้น สำหรับกรมวิชาการได้กล่าวถึงบทบาทและหน้าที่ของผู้ปกครองไว้ ดังนี้
          1. เป็นแบบอย่างที่ดีของลูก
          2. ให้ความรักและความเข้าใจ
          3. เรียนรู้ร่วมกับเด็ก
          4. ยอมรับอารมณ์และความรู้สึกของลูก
          5. ไม่ปิดกั้นความรู้สึกของลูก
          6. ฝึกให้ลูกรู้จักการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี
          7. ลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์

  •  บทบาทและหน้าที่ด้านการอบรมเลี้ยงดู
          บทบาทของพ่อแม่ในการเลี้ยงดูเด็กมี 3 ประการ คือ
            1.  เป็นผู้ให้การเลี้ยงดูเพื่อสร้างเสริมสุขภาพกายและใจที่ดีให้กับเด็ก
            2.  เป็นผู้ให้การศึกษาเบื้องต้น
            3.  เป็นผู้ส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา


  •       บทบาทและหน้าที่ด้านการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้
               1ช่วยจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับกิจกรรมที่โรงเรียน
               2.  ส่งเสริมให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงให้มาก
               3.  สนทนาให้ความเป็นกันเองกับเด็ก ป้อนคำถามให้เด็กได้คิดหาคำตอบ
               4. ชมเชยเมื่อเด็กทำความดี ทำได้ถูกต้อง ในขณะที่ทำผิดก็ต้องชี้แจงให้เด็กเข้าใจให้ถูกต้องก่อนที่เด็กจะจำวิธีการผิด ๆ ไปใช้
               5.  ให้เด็กมีส่วนร่วมรับผิดชอบ ช่วยเหลืองานในบ้านที่เหมาะสมกับวัย 
               6.  ให้อิสระแก่เด็กบ้างในบางโอกาส
               7.  สนับสนุนส่งเสริมให้เกิดปัญญา
               8.  คอยติดตามการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ของเด็ก โดยไม่เข้มงวดกวดขันจนเกินไป
               9.  ติดต่อกับครูของเด็กเพื่อรับทราบปัญหาและให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาก่อนที่จะสายเกินแก้
  •        บทบาทและหน้าที่ในการส่งเสริมนักศึกษา
                 การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มนุษย์กับการศึกษาเป็นสิ่งที่อยู่คู่กันตลอดชีวิต พ่อแม่ ผู้ปกครองถือเป็นบุคคลแรกที่ทำหน้าที่ในการส่งเสริมการศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพให้แก่เด็กในแนวทางที่เหมาะสมและช่วยส่งเสริมการศึกษาให้แก่เด็กดังนี้
                        1.  ความอุทิศตน ในการมีเวลาให้กับลูกอย่างเต็มที่
                        2.  มีจุดมุ่งหมายสูงส่งเพื่อลูก
                 3.  ช่างสังเกตถี่ถ้วน
                 4.  ใช้สามัญสำนึกในการเลี้ยงลูก     
                 5.  ปลูกฝังวินัย ความเป็นไทย
สรุป  บทบาทหน้าที่ของผู้ปกครอง 10 ประการ
  1.  ให้ความรักและสายสัมพันธ์ในครอบครัว
  2.  ให้ความเอาใจใส่และเอื้ออาทรต่อลูก
  3.  ทำตนให้เป็นแบบที่ดีแก่ลูก
  4.  ให้ประสบการณ์การเรียนรู้ในสังคมเกี่ยวกับการปฏิบัติตน
  5.  ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้เป็นไปตามวัย
  6.  ให้หลักธรรมในการพัฒนาเด็กด้วยหลักไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา)
  7.  ส่งเสริมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ โดยผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย
  8.  ศึกษาการเจริญเติบโตของเด็ก
  9.  เอาใจใส่ดูแลสุขภาพ
  10. สนับสนุนเตรียมความพร้อมก่อนสู่สังคม

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • เมื่อมีความรู้เกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ และบทบาทหน้าที่ของผู้ปกครองแล้ว เราก็จะสามารถให้การศึกษา ให้ความรู้แก่ผู้ปกครองได้อย่างถูกต้อง 
  • นอกจากการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับครอบครัว หรือเป็นความรู้ให้กับตนเองในอนาคต เพื่อจะได้ปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา จดความรู้หรืองานที่ครูมอบหมายอย่างตั้งใจ
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียน ให้ความช่วยเหลือเวลามีปัญหาหรือไม่เข้าใจ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีความตรงต่อเวลา สอนเข้าใจง่าย เรียนกับอาจารย์แล้วมีความสุข ไม่เคร่งเครียด มีการยกตัวอย่างจากเนื้อหาซึ่งทำให้นักศึกษามองเห็นภาพและเข้าใจมากขึ้น