พุยพุย

วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม 2559 เวลา 08.30-11.30 น.



เนื้อหาและความรู้ที่ได้รับ
          วันนี้เป็นวันเปิดเทอมวันแรก เนื้อหาสาระจึงเป็นเรื่องพื้นฐานต่าง ๆ ของรายวิชา เริ่มจากการทำความเข้าใจเกี่ยวกับรายวิชา ข้อตกลงต่าง ๆ และมอบหมายงานบางส่วน 
          เนื้อหาสาระที่เรียนในวันนี้คือ
  • ความหมายของผู้ปกครอง
          มีผู้ให้ความหมายของผู้ปกครองไว้หลายคน เช่น Summers Della, Encyclopedia, พรรณิดา สันติพงษ์, จินตนา ปัณฑวงศ์ เป็นต้น แต่สามารถสรุปความหมายของผู้ปกครองได้ดังนี้ ผู้ปกครอง หมายถึง ผู้ที่เป็นบิดา มารดา หรือบุคคลอื่นที่ให้การอบรมเลี้ยงดูให้การศึกษาแก่เด็กที่อยู่ในการดูแล ดังนั้นในการกล่าวถึงผู้ปกครองจึงมีความหมายรวมถึงบุคคลที่เป็นพ่อและแม่ด้วย
  •  ความสำคัญของผู้ปกครอง
          มีผู้ให้ความสำคัญของผู้ปกครองไว้หลายคน เช่น Lee Center and Marlene Center, 
Pestalozzi, ฉันทนา  ภาคบงกช โดยสรุปได้ดังนี้ "ผู้ปกครองมีความสำคัญซึ่งมีความใกล้ชิดกับเด็ก เป็นผู้ที่มีความหมายต่อชีวิตเด็กทั้งการเจริญเติบโตทางร่างกายและจิตใจเป็นผู้ที่เด็กมอบความรักด้วยความบริสุทธิ์ใจ ผู้ปกครองจึงเป็นผู้นำที่จะช่วยให้เด็กเจริญเติบโต มีพัฒนาการที่เหมาะสม เพื่อการก้าวสู่โลกกว้างได้อย่างมั่นคงและมีความพร้อมในทุกด้าน จึงถือว่าผู้ปกครองเป็นผู้เสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้วยความรัก ความเข้าใจให้แก่เด็กตั้งแต่เยาว์วัยเป็นรากฐานอนาคตของสังคมให้มีความสมบูรณ์และแข็งแรง"
  • บทบาทและหน้าที่ของผู้ปกครอง
          มีผู้กล่าวถึงบทบาทและหน้าที่ของผู้ปกครองไว้หลายคน เช่น Christine Ward, อารี สันหฉวี, กุลยา ตันติผลาชีวะ เป็นต้น สำหรับกรมวิชาการได้กล่าวถึงบทบาทและหน้าที่ของผู้ปกครองไว้ ดังนี้
          1. เป็นแบบอย่างที่ดีของลูก
          2. ให้ความรักและความเข้าใจ
          3. เรียนรู้ร่วมกับเด็ก
          4. ยอมรับอารมณ์และความรู้สึกของลูก
          5. ไม่ปิดกั้นความรู้สึกของลูก
          6. ฝึกให้ลูกรู้จักการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี
          7. ลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์

  •  บทบาทและหน้าที่ด้านการอบรมเลี้ยงดู
          บทบาทของพ่อแม่ในการเลี้ยงดูเด็กมี 3 ประการ คือ
            1.  เป็นผู้ให้การเลี้ยงดูเพื่อสร้างเสริมสุขภาพกายและใจที่ดีให้กับเด็ก
            2.  เป็นผู้ให้การศึกษาเบื้องต้น
            3.  เป็นผู้ส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา


  •       บทบาทและหน้าที่ด้านการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้
               1ช่วยจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับกิจกรรมที่โรงเรียน
               2.  ส่งเสริมให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงให้มาก
               3.  สนทนาให้ความเป็นกันเองกับเด็ก ป้อนคำถามให้เด็กได้คิดหาคำตอบ
               4. ชมเชยเมื่อเด็กทำความดี ทำได้ถูกต้อง ในขณะที่ทำผิดก็ต้องชี้แจงให้เด็กเข้าใจให้ถูกต้องก่อนที่เด็กจะจำวิธีการผิด ๆ ไปใช้
               5.  ให้เด็กมีส่วนร่วมรับผิดชอบ ช่วยเหลืองานในบ้านที่เหมาะสมกับวัย 
               6.  ให้อิสระแก่เด็กบ้างในบางโอกาส
               7.  สนับสนุนส่งเสริมให้เกิดปัญญา
               8.  คอยติดตามการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ของเด็ก โดยไม่เข้มงวดกวดขันจนเกินไป
               9.  ติดต่อกับครูของเด็กเพื่อรับทราบปัญหาและให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาก่อนที่จะสายเกินแก้
  •        บทบาทและหน้าที่ในการส่งเสริมนักศึกษา
                 การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มนุษย์กับการศึกษาเป็นสิ่งที่อยู่คู่กันตลอดชีวิต พ่อแม่ ผู้ปกครองถือเป็นบุคคลแรกที่ทำหน้าที่ในการส่งเสริมการศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพให้แก่เด็กในแนวทางที่เหมาะสมและช่วยส่งเสริมการศึกษาให้แก่เด็กดังนี้
                        1.  ความอุทิศตน ในการมีเวลาให้กับลูกอย่างเต็มที่
                        2.  มีจุดมุ่งหมายสูงส่งเพื่อลูก
                 3.  ช่างสังเกตถี่ถ้วน
                 4.  ใช้สามัญสำนึกในการเลี้ยงลูก     
                 5.  ปลูกฝังวินัย ความเป็นไทย
สรุป  บทบาทหน้าที่ของผู้ปกครอง 10 ประการ
  1.  ให้ความรักและสายสัมพันธ์ในครอบครัว
  2.  ให้ความเอาใจใส่และเอื้ออาทรต่อลูก
  3.  ทำตนให้เป็นแบบที่ดีแก่ลูก
  4.  ให้ประสบการณ์การเรียนรู้ในสังคมเกี่ยวกับการปฏิบัติตน
  5.  ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้เป็นไปตามวัย
  6.  ให้หลักธรรมในการพัฒนาเด็กด้วยหลักไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา)
  7.  ส่งเสริมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ โดยผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย
  8.  ศึกษาการเจริญเติบโตของเด็ก
  9.  เอาใจใส่ดูแลสุขภาพ
  10. สนับสนุนเตรียมความพร้อมก่อนสู่สังคม

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • เมื่อมีความรู้เกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ และบทบาทหน้าที่ของผู้ปกครองแล้ว เราก็จะสามารถให้การศึกษา ให้ความรู้แก่ผู้ปกครองได้อย่างถูกต้อง 
  • นอกจากการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับครอบครัว หรือเป็นความรู้ให้กับตนเองในอนาคต เพื่อจะได้ปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา จดความรู้หรืองานที่ครูมอบหมายอย่างตั้งใจ
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียน ให้ความช่วยเหลือเวลามีปัญหาหรือไม่เข้าใจ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีความตรงต่อเวลา สอนเข้าใจง่าย เรียนกับอาจารย์แล้วมีความสุข ไม่เคร่งเครียด มีการยกตัวอย่างจากเนื้อหาซึ่งทำให้นักศึกษามองเห็นภาพและเข้าใจมากขึ้น




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น