พุยพุย

วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน 2559 เวลา 08.30-11.30 น.
(วันนี้อาจารย์ให้มาเรียนรวมกันทั้ง 2 เซค ในเวลา 09.30-12.30 น.)


เนื้อหาและความรู้ที่ได้รับ

บทที่ 5 
รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองในสถานศึกษา

ได้รับดาวเด็กดีดวงแรกจากอาจารย์บาส ดีใจมากค่ะ ><
เนื่องจากออกไปนำเสนองานในท้ายชั่วโมงเรียน 
อาจารย์ใจดีให้มาคนละดวงเลย

อาจารย์อธิบายการนำเสนองานวิจัย ที่จะนำเสนอหลังสอบกลางภาค
ว่ามีหัวข้ออะไรบ้าง ควรทำอย่างไร ซึ่งอาจารย์ได้แนะนำว่า
ให้เน้นประเด็นหลักที่สำคัญ โดยนำเสนอด้วย Power Point 

          จากนั้นก็เข้าสู่เนื้อหา บทที่ 5 รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองในสถานศึกษา

ระดับชั้นเรียน ได้แก่

ข่าวประจำสัปดาห์ ประกอบด้วย 

  • รายละเอียดของสาระการเรียนรู้ ประสบการณ์และกิจกรรมที่สถานศึกษาวางแผนไว้ประจำสัปดาห์
  • พัฒนาการและการเรียนรู้ที่เด็กได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรม
  • กิจกรรมครอบครัว เป็นกิจกรรมที่พ่อแม่ ร่วมทำกับเด็กโดยในข่าวสารจะเสนอแนะกิจกรรมต่างๆ เช่น ประดิษฐ์ของเล่นสำหรับเด็ก เกม วาดภาพระบายสี เพลงคำคล้องจอง ปริศนาคำทาย ฯลฯ
  • เรื่องน่ารู้สำหรับผู้ปกครอง เป็นการให้ข้อมูลความรู้เพื่อนำไปอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการเด็กหรือแก้ไขปัญหาพฤติกรรมเด็ก
  • ข้อเสนอแนะของผู้ปกครอง
ตัวอย่าง ข่าวประจำสัปดาห์

จดหมายข่าวและกิจกรรม
          เป็นการนำเสนอความรู้ให้แก่ผู้ปกครอง ในชั้นเรียนให้รับรู้ถึงข่าวสารและกิจกรรมที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ในการพัฒนาเด็ก โดยจัดส่งให้ผู้ปกครองในทุกสัปดาห์หรือตามความเหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ สิ่งที่นำเสนอในจดหมายข่าวและกิจกรรมอาจจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องดังนี้
  • ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับเด็กและผู้ปกครอง
  • ความรู้สำหรับผู้ปกครอง ฯลฯ
  • กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการสำหรับผู้ปกครอง เช่น นิทาน ศิลปะ ภาษา ฯลฯ
ตัวอย่างจดหมายข่าว


ป้ายนิเทศให้ความรู้ผู้ปกครอง  (จัดต่อสัปดาห์ ต่อเดือน หรือมีความสอดคล้องในสถานการณ์ปัจจุบัน) สามารถจัดได้บริเวณหน้าชั้นเรียนของทุกห้องเรียน โดยนำข้อมูลความรู้ที่จำเป็นสำหรับผู้ปกครอง จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย เช่น
  • ข้อมูลจากนิตยสาร หนังสือพิมพ์ วารสาร
  • เกร็ดความรู้หรือสาระน่ารู้สำหรับผู้ปกครอง
  • ภาพถ่ายกิจกรรมในชั้นเรียน
  • ผลงานแห่งความภาคภูมิใจ
  • กิจกรรมในโอกาสพิเศษ เช่น ทัศนศึกษา การแสดงในวันปีใหม่ ฯลฯ
ตัวอย่างป้ายนิเทศ




การสนทนา เป็นรูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองที่เข้าถึงและตรงมากที่สุด การสนทนาเป็นแนวทางหนึ่งของการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีเพื่อผู้ปกครอง และช่วยในการให้ความรู้ผู้ปกครองเป็นไปได้อย่างราบรื่น โดยมีวัตถุประสงค์ในการสนทนาดังนี้
  • เพื่อให้ครูและผู้ปกครองได้มีโอกาสพบปะพูดคุยและแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาเด็ก
  • เพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงแนวทางการดำเนินงานของโรงเรียน
  • เพื่อให้ครูและผู้ปกครองได้แลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมเด็กขณะที่อยู่ที่โรงเรียนและที่บ้าน
ตัวอย่างการสนทนา



ระดับสถานศึกษา ได้แก่

ห้องสมุดผู้ปกครอง 
          เป็นสถานที่เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารต่าง ๆ อันเป็นแหล่งเรียนรู้ อีกรูปแบบหนึ่งของการให้บริการเผยแพร่ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร ความเคลื่อนไหวหรือการเปลี่ยนแปลงที่ทันสมัยสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง 


ป้ายนิเทศ
          ป้ายนิเทศในลักษณะนี้เป็นป้ายที่จัดเพื่อให้ความรู้และข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ปกครองทั้งสถานศึกษา ลักษณะของป้ายประกอบด้วย ภาพ ตัวอักษร ของจริง แผนภูมิ สถิติ ฯลฯ 


นิทรรศการ
          เป็นรูปแบบที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของสถานศึกษาให้แก่ผู้ปกครองได้อย่างกว้างขวางรูปแบบหนึ่งด้วยการใช่สื่อหรืออุปกรณ์หลายชนิดในการถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสารเช่น ภาพเขียน ภาพถ่าย สถิติ หุ่น ผลงานเด็ก ภาพยนตร์ วีดีโอและซีดี


มุมผู้ปกครอง
เป้าหมายสำคัญของการจัดมุมผู้ปกครองคือ
    - เพื่อให้ผู้ปกครองได้ใช้เวลาว่างระหว่างการรอรับ-ส่งเด็ก ให้เกิดประโยชน์ด้วยการอ่านหนังสือ ฯลฯ
    - เป็นบริเวณที่ให้ผู้ปกครองได้สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่าง
ผู้ปกครองด้วยกัน
    - เพื่อผู้ปกครองและเด็กได้ทำกิจกรรมร่วมกันตามความเหมาะสมในระยะเวลาสั้นๆ เช่น อ่านหนังสือ 
ดูภาพกิจกรรมของเด็ก ชมผลงานเด็ก ฯลฯ


การประชุม
- เพื่อแถลงนโยบายการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
- แลกเปลี่ยนทัศนคติระหว่าสถานศึกษากับผู้ปกครอง
- แจ้งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินงาน
- ประสานงานและทำความเข้าใจกับผู้ปกครอง
- สร้างความสามัคคีระหว่างผู้ปกครองกับครู
- พัฒนาความรู้ความเข้าใจกับผู้ปกครองเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก การจัดการศึกษา ฯลฯ


จุลสาร  ประกอบไปด้วย 4 ส่วน คือ ส่วนของบรรณาธิการ  เรื่องราวของเด็กๆ บทความรู้ และเบ็ดเตล็ด การจัดทำจุลสารเพื่อให้มีความน่าสนใจ โดยพิจารณาดังนี้
  • เนื้อหาความรู้ที่นำเสนอ
  • จัดทำรูปเล่มให้น่าสนใจ
  • ภาพประกอบมีสีสันสวยงาม
  • ภาษาไม่ควรจะเป็นวิชาการมากเกินไป
  • ควรมีคอลัมน์สำหรับผู้ปกครอง


คู่มือผู้ปกครอง
ข้อมูลในคู่มือผู้ปกครองประกอบไปด้วย
- ปรัชญาและเป้าหมายของสถานศึกษา
- หลักสูตรและการจัดประสบการณ์

- บุคลากรเพื่อแสดงให้เห็นถึงความรู้ความสามารถ
- อาคาร สถานที่ สภาพแวดล้อม
- การจัดบริการและสวัสดิการต่างๆ
- กฎ ระเบียบ และแนวปฏิบัติ สำหรับผู้ปกครองได้ทราบโดยทั่วกัน
- การวัดและประเมินผล

ระบบอินเทอร์เน็ต
          เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร เวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ใช้เพื่อการเรียนการสอน และเวิลด์ไวด์เวป  (WWW.)  การใช้อินเทอร์เน็ตในการให้ความรู้ผู้ปกครองนับเป็นบริการด้านหนึ่งที่สถานศึกษาสามารถจัดทำในรูปแบบ เวิลด์ไวด์เวป  บริการให้ความรู้ผู้ปกครองผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่สถานศึกษาบรรจุลงในเว็บไซด์ 

          จากนั้น อาจารย์ก็ให้ออกแบบ " ข่าวประจำสัปดาห์ " ตามความชอบของแต่ละคน ว่าจะออกแบบอย่างไร และให้ความรู้อะไรกับผู้ปกครองบ้าง โดยทำเป็นโครงร่างคร่าว ๆ ให้อาจารย์ดูก่อน แล้วค่อยทำจริงเป็นการบ้าน 








เมื่อออกไปนำเสนองานหน้าชั้นเรียน ก็ทำให้ได้ดาวเด็กดี 1 ดวง
^________^


 คำถามท้ายบท
1. รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับชั้นเรียนครูประจำชั้นควรพิจารณาในการเลือกใช้รูปแบบใดบ้าง 
จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ เป็นรูปแบบที่มีความหลากหลาย หากผู้ปกครองไม่สะดวกมาที่โรงเรียน ก็ควรมีจดหมายข่าวไปให้ผู้ปกครองได้ทราบ เป็นข้อมูลข่าวสารที่ส่งไปถึงผู้ปกครองเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมของเด็กที่โรงเรียนและแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็กที่บ้านเพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจและร่วมกันพัฒนาเด็กไปในทิศทางเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น 
ข่าวประจำสัปดาห์ = จะออกทุกวันศุกร์, เป็นหน่วยที่ลูกเรียน, การอบรมเลี้ยงดู, ข้อเสนอแนะ
จดหมายข่าว/กิจกรรมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับเด็กและผู้ปกครอง, กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการสำหรับผู้ปกครอง เช่น นิทาน ศิลปะ ภาษา ฯลฯ
ป้ายนิเทศให้ความรู้ผู้ปกครอง = ข้อมูลจากนิตยสาร หนังสือพิมพ์ วารสาร, เกร็ดความรู้หรือสาระน่ารู้สำหรับผู้ปกครอง
การสนทนา = เป็นรูปแบบที่เข้าถึงและตรงมากที่สุด ที่ครูและผู้ปกครองจะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
2. รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับสถานศึกษามีรูปแบบใดบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ ห้องสมุดผู้ปกครอง = การให้บริการเผยแพร่ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร ความเคลื่อนไหวหรือการเปลี่ยนแปลงที่ทันสมัยสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง
ป้ายนิเทศ = ให้ข้อมูล เช่น ข้อมูลการดำเนินงานของโรงเรียน เช่น ปรัชญา นโยบาย วัตถุประสงค์ ข่าวสารประจำวันจากหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร ฯลฯ
นิทรรศการ = เช่น ภาพเขียน ภาพถ่าย สถิติ หุ่น ผลงานเด็ก ภาพยนตร์ วีดีโอ และซีดี

3. นักศึกษามีวิธีการหรือแนวทางแก้ปัญหาผู้ปกครองที่ไม่ให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมโครงการ
หรือกิจกรรมให้ความรู้ผู้ปกครอง จงอธิบาย 
ตอบ ต้องตรวจสอบสาเหตุก่อนว่า ที่ผู้ปกครองไม่สามารถมาร่วมกิจกรรมหรือไม่ให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมโครงการนั้น เป็นเพราะอะไร แล้วก็หาทางแก้ไขตามความเหมาะสม เช่น การส่งจดหมาย หรือข่าวสารต่าง ๆ การรายงานพฤติกรรม ผลงานของลูกไปยังที่บ้าน หรืออาจจะมีการไปเยี่ยมบ้านของเด็กจริง ๆ เพื่อจะได้ทราบถึงปัญหา และมีการสนทนาแลกเปลี่ยนกันระหว่างครูกับผู้ปกครองด้วย
 
4. การจัดกิจกรรมการให้ความรู้ผู้ปกครองมีความสำคัญและจำเป็นอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมของเด็กที่โรงเรียนและแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็กที่บ้านเพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจและร่วมกันพัฒนาเด็กไปในทิศทางเดียวกัน การจัดกิจกรรมการให้ความรู้ผู้ปกครองนั้นจำเป็นมาก เพราะบางครอบครัวอาจจะมีความรู้ในการอบรมเลี้ยงดูไม่ถูกต้องเท่าที่ควร การให้ความรู้ผู้ปกครองก็จะทำให้ผู้ปกครองมีแนวทางในการอบรมเลี้ยงดูลูกที่ถูกต้องมากขึ้น ส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก และครอบครัวจะได้อบอุ่น มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เพราะเกิดจากการดูแลเอาใจใส่ และทำกิจกรรมร่วมกันมากยิ่งขึ้น
 
5. รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองที่มีประสิทธิภาพ มีลักษะของรูปแบบอย่างไร 
จงอธิบายพร้อมแสดงความคิดเห็น
ตอบ ควรเป็นรูปแบบที่เป็นการสื่อสารสองทาง เช่น การสนทนา จะเป็นรูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองที่เข้าถึงและตรงมากที่สุด เป็นแนวทางหนึ่งของการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีเพื่อผู้ปกครอง และช่วยในการให้ความรู้เป็นไปได้อย่างราบรื่น การได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ถือว่าเป็นรูปแบบการให้ความรู้ที่มีประสิทธิภาพ เพราะจะได้ช่วยกันส่งเสริมหรือแก้ปัญหาเด็กได้ตรงจุดมากที่สุด
 

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-  เมื่อมีความรู้และได้แนวคิดการสร้างรูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองที่หลากหลายขึ้น ทำให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ
-  เนื่องจากผู้ปกครองไม่ชอบอะไรที่เป็นทางการมากนัก การจัดกิจกรรมที่เป็นกันเอง ให้ความสนุกสนานเพลิดเพลินในการให้ความรู้ อาจจะทำให้ผู้ปกครองมีความสนใจมากยิ่งขึ้น และสามารถนำความรู้นั้นไปใช้อบรมเลี้ยงดูเด็กได้อย่างถูกต้อง ส่งผลให้การพัฒนาเด็กไปในทิศทางเดียวกัน

การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน และกล้าแสดงความคิดเห็น นำเสนองานหน้าชั้นเรียน เพื่อจะได้รู้ว่าตนเองต้องปรับปรุงอย่างไร จะได้นำไปพัฒนางานให้ดีขึ้น
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียน และตั้งใจทำงานที่อาจารย์มอบหมาย รวมทั้งกล้าแสดงออก แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ให้คำปรึกษาซึ่งกันและกัน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เตรียมการสอนมาดีมาก ตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ใจดี และสอนได้เข้าใจ เป็นลำดับขั้นตอน เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการเรียน ให้คำปรึกษาเมื่อไม่เข้าใจ


 

วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

วันจันทร์ที่ 5 กันยายน 2559 เวลา 08.30-11.30 น
เนื้อหาและความรู้ที่ได้รับ
บทที่ 4 
โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองในและต่างประเทศ
โครงการการให้ความรู้ผูู้ปกครองในประเทศไทย
  • โครงการแม่สอนลูก
- ดำเนินการโดยกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ
- จัดสำหรับเด็กที่ด้อยโอกาส โดยให้มารดาเป็นผู้สอนเองที่บ้าน
- ใช้วิธีการแนะนำให้รู้จักใช้ทักษะ รู้จักคิดและเรียนรู้มโนทัศน์ด้านต่างๆ
- ใช้รูปแบบการทดลองสอนแม่เพื่อสอนลูกที่บ้าน โดยอาศัยรูปแบบโครงการการเยี่ยมบ้านของประเทศอิสราเอล
  • โครงการแม่สอนลูก
- ดำเนินการโดยศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จ.อุบลราชธานี
- เป็นโครงการทดลองหารูปแบบในการให้ความรู้แก่กลุ่มสตรีแม่บ้านในชุมชน ได้นำแนวทางของโปรงแกรม Hippy Program ของประเทศอิสราเอล
- เน้นให้ผู้ปกครองมีความพร้อมก่อนส่งลูกเข้าเรียน แม่จะส่งเสริมเด็กด้านต่างๆ เช่น ภาษา การพัฒนากล้ามเนื้อ และสติปัญญา  
  • การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองในการอบรมเลี้ยงดูเด็กต่ำกว่า 3 ปี ผ่านโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัย    
เป็นโครงการภายใต้งานวิจัยของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ประกอบด้วย 4 รูปแบบ คือ
    - วิธีกระบวนการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วม
    - วิธีการสนทนากลุ่ม
    - วิธีอภิปรายกลุ่ม
    - วิธีการบรรยาย   
  • โครงการ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย   
ดำเนินการโดยสำนักสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต เป็นโครงการที่มุ่งเร่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กและเยาวชนไทย
  • โครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างความเข็มแข็งของครอบครัว “บ้านล้อมรัก” 
ดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภายใต้คำขวัญ “พลังครอบครัวไทย ชนะภัยยาเสพติด” เพื่อสร้างความเข้าใจบทบาทของพ่อแม่ ผู้ปกครองในการดูแลเอาใจใส่บุตรหลาน เพื่อให้ปลอดภัยและห่างไกลจากยาเสพติด    
  • โครงการหนังสือเล่มแรก (Bookstart Thailand)                          

โครงการหนังสือเล่มแรก เริ่มต้นขึ้นในปี 2546 โดยการริเริ่มของมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก 
  • โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัว
เป็นการดำเนินงานร่วมกันของกรมการพัฒนาชุมชน กรมการศึกษานอกโรงเรียน กรมอนามัย สำนักงานปรัดกระทรวงสาธารณสุข และอีกหลายหน่วยงาน วัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาและเพิ่มพูนความรู้ให้พ่อแม่ สมาชิกในครอบครัว เยาวชนในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กให้เจริญเติบโต มีพัฒนาการตามวัยต่อเนื่องสอดคล้องกับวิถีชีวิตครอบครัวและสังคม
  • โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัว
ดำเนินงานโดยกองสูตินารีเวชกรรม พร.พระมงกุฎเกล้า ได้เปิดบริการให้เตรียมความพร้อมแก่คู่สมรสที่กำลังเตรียมใช้ชีวิตคู่ ให้มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องต่างๆ ของชีวิตสมรส เพื่อความสุขราบรื่น โดยใช้ชื่อสถานบริการนี้ว่า “คลินิกให้คำปรึกษาก่อนสมรส” 



โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองในต่างประเทศ ยกตัวอย่างเช่น
  • โครงการการให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในประเทศอิสราเอล ประเทศอิสราเอลถือเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาค่อนข้างสูง เพราะถือว่าการศึกษาคือการพัฒนามนุษย์ให้มีคุณภาพ 
  • โครงการศูนย์ส่งเสริมประสบการณ์เด็กปฐมวัย ที่เรียกว่า ALEH  (Early Childhood Enrichment Center) สอนแม่ที่อายุยังน้อยให้รู้จักใช่สื่อ-อุปกรณ์ (ของเล่น) เกมการเล่นเพื่อพัฒนาเด็ก ประสานงานกับคลินิกครอบครัวแม่และเด็ก จัดกิจกรรมเสนอแนะให้แม่ที่ไม่เคยมีเวลาว่างไปร่วมในศูนย์ ALEH เพื่อจัดกิจกรรมในข้อขั้นต้น
  • โครงการเสนอแนะให้แม่สอนลูก เลี้ยงลูกอย่างไรให้ถูกวิธี โครงการนี้ชื่อ HATAF โปรแกรม เป็นโครงการที่ร่วมมือกันทำระหว่างมหาวิทยาลัยเยรูซาเล็มกับกระทรวงศึกษาธิการ เป็นโครงการที่จัดรูปแบบการสอนพ่อแม่ที่มีลูกอายุ 1-3ปี 
  • โครงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับผู้ปกครองและเด็ก จัดขึ้นสำหรับเด็ก 4-6 ปี พร้อมด้วยพ่อแม่ ผู้ปกครอง โดยมีวิทยากรเป็นครูจากเนสเซอรี่ หรือ รร.อนุบาลหรือผู้เชี่ยวชาญทางศิลปะ-ดนตรี เกมการศึกษา นาฏศิลป์ ร้องรำทำเพลง ฯลฯ 
  • โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศสหรัฐอเมริกา มีการจัดทำหลักสูตรการให้ความรู้ผู้ปกครองไว้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการศึกษาระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาของทุกรัฐ
  • โครงการศูนย์ข้อมูลพ่อแม่ มีการจัดตั้ง ศูนย์ข้อมูลพ่อแม่ ขึ้นในทุกรัฐ โดยการดำเนินงานนั้นให้ผ่านไปยังองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ (NGO) โดยให้การอบรมความรู้และข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ปกครอง ภายใต้คำนิยาม การศึกษาของพ่อแม่ โครงการพ่อแม่ในฐานะครู และโครงการสอนเด็กเล็กในบ้าน
  • โครงการ เฮดสตาร์ท (Head Start) เป็นโครงการระดับชาติที่ให้บริการด้านพัฒนาการแก่เด็กอายุ 3-5 ปี ที่พ่อแม่มีรายได้น้อย และบริการด้านสังคมแก่ครอบครัวของเด็กเหล่านั้น 
  • โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศอังกฤษ (Bookstart UK) หรือเรียกว่า “หนังสือเล่มแรก” ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2535 โดย นางเวนดี้ คูลลิ่ง ภายใต้ บุ๊คทรัสต์ ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลที่มีจุดมุ่งหมายในการนำหนังสือสู่คน นำคนสู่หนังสือ ด้วยการจัดสรรให้เด็กทารกทุกคนได้รับ “ถุงบุ๊คสตาร์ท”
  • โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศญี่ปุ่น (Bookstart Japan) เมื่อปี พ.ศ. 2543 ญี่ปุ่นประกาศให้เป็น “ปีแห่งการอ่านของเด็ก” และได้มีการนำโครงการบุ๊คสตาร์ทของประเทศอังกฤษเข้ามาเผยแพร่ในญี่ปุ่น 
ถุงบุ๊คสตาร์ท
ภายในถุงประกอบด้วย
-  หนังสือที่ได้รับการคัดสรรแล้ว 2 เล่ม
-  หนังสือแนะนำพ่อแม่ด้วยภาพเกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็กและโยงไปถึงการเลี้ยงดูด้วยหนังสือ
-  ของชำร่วยสำหรับเด็ก เช่น ผ้ารองจานฯลฯ
-  แผนที่แนะนำห้องสมุดแถวละแวกบ้าน
-  บัตรสมาชิกห้องสมุดสำหรับเด็ก
-  รายชื่อหนังสือสำหรับเด็ก
-  รายชื่อศูนย์สนับสนุนคุณแม่เลี้ยงลูก

          จากนั้น อาจารย์ก็มี VDO มาให้ดู จากรายการ Lightning Talk กับ สายสวรรค์ ขยันยิ่ง โดยมีแขกรับเชิญคือ คุณตุ๊บปอง กรรมการผู้จัดการมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็กและผู้จัดการโครงการหนังสือเล่มแรกในประเทศไทย มาให้ความรู้ ตอนหนังสือเล่มแรก Book Start  https://www.youtube.com/watch?v=WbveNLAArvI คลิกเพื่อดู VDO



 
          สรุปคร่าว ๆ ดังนี้ โครงการหนังสือเล่มแรกในประเทศไทย เริ่มต้นขึ้นในปี 2546 โดยการริเริ่มของมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก มีเป้าหมายที่จะให้พ่อแม่ลูกมีความสุขร่วมกันในโลกของหนังสือ สร้างพื้นฐานการอ่านและสานสัมพันธ์ในครอบครัว ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยนิสัยรักการอ่าน โดยการจัดทำถุงบุ๊คสตาร์ท (book start) ติดตามประเมินผลครอบครัวในโครงการ ซึ่งมีต้นแบบมาจาก โครงการ บุ๊คสตาร์ท หรือเรียกว่า “หนังสือเล่มแรก” ของประเทศอังกฤษ เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2535 และโครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศญี่ปุ่น (Bookstart Japan) เมื่อปี 2543 ซึ่งญี่ปุ่นประสบความสำเร็จมากกว่าอังกฤษ

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • เมื่อได้เรียนรู้เกี่ยวกับโครงการต่าง ๆ ที่เป็นการให้ความรู้ ให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศ ทำให้ได้รับความรู้ ประสบการณ์ใหม่ ๆ จากโครงการที่ได้ศึกษาเพิ่มมากขึ้น ทำให้สามารถเปรียบเทียบข้อแตกต่างของแต่ละโครงการ และนำข้อดีของแต่ละโครงการมาประยุกต์ในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองได้
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน แต่อาจจะมีเล่นบ้าง ในชั่วโมงเรียนอาจจะยังไม่เข้าใจมากนัก เพราะเนื้อหามีมากเกินไป เมื่อกลับมาทบทวนอีกครั้งก็ทำให้เข้าใจมากขึ้น
ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจเรียน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนและอาจารย์ด้วย
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายและสอนเรื่องที่อาจจะมีเนื้อหาเยอะ ให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น เป็นกันเองกับนักศึกษา จึงทำให้บรรยากาศในการเรียนไม่เคร่งเครียด

คำถามท้ายบท

1. ในการดำเนินโครงการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศมีเป้าหมาย
ร่วมกันอย่างไร
ตอบ มีเป้าหมายเพื่อให้บ้าน โรงเรียน ชุมชน และสังคมจากภาครัฐและภาคเอกชน มีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็ก เป็นการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการศึกษาเด็กปฐมวัยให้ไปในทิศทางเดียวกัน

2. นักศึกษามีแนวคิดอย่างไรที่จะสนับสนุนให้โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จ
อย่างเป็นรูปธรรม จงอธิบาย
ตอบ แนวคิดคือ การนำความรู้ประสบการณ์ของแต่ละโครงการที่ทดลองแล้วได้ผลตอบรับที่ดี หรือประสบความสำเร็จ มาประยุกต์ใช้ในการให้ความรู้ผู้ปกครองหรือการทำงานในอนาคต ซึ่งสามารถนำมาใช้กับคนในครอบครัวของเราได้อีกด้วย ส่วนผลตอบรับที่เป็นรูปธรรมนั้น ก็ต้องสังเกตว่าเด็กมีความพร้อมในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ มีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัยหรือไม่ คุณภาพของเด็กเป็นอย่างไร หากนำโครงการต่าง ๆ ไปให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง แล้วเด็กมีพัฒนาการที่ดี ก็แสดงว่าโครงการนั้น ๆ ประสบความสำเร็จ
3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นผู้ที่ให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในอนาคต 
จงยกตัวอย่างขององค์ความรู้หรือเรื่องที่ต้องการจะถ่ายทอดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อใช้
ในการเลี้ยงดูเด็กมา 5 เรื่องพร้อมอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ 1. เรื่องเลี้ยงดู : เป็นการให้ความรู้ว่าเด็กควรได้รับการเลี้ยงดูอย่างไร ในแต่ละช่วงวัย เช่น อาหารตามโภชนาการ การส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
2. เรื่องการอบรมสั่งสอน : เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการอบรมสั่งสอนลูกในสิ่งที่ดี ปลูกฝังและเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็ก กิริยามารยาทการอยู่ในสังคม กาลเทศะต่าง ๆ เช่น การพาลูกไปวัด ไปทำบุญ จะต้องแต่งกายอย่างไร การฝึกให้เด็กทำความดี ช่วยเหลือแบ่งเบาภาระครอบครัว
3. เรื่องการส่งเสริมการเรียนรู้ : เด็กแต่ละช่วงวัยมีพัฒนาการที่แตกต่างกันไป การส่งเสริม สนับสนุนให้เด็กได้มีพัฒนาการที่สมบูรณ์ตามวัยเป็นสิ่งสำคัญมาก เช่น การให้เด็กเรียนรู้จากหนังสือนิทาน การทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างอิสระ โดยพ่อแม่มีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้น ๆ ด้วย พ่อแม่ต้องเอาใจใส่ และเฝ้าดูพัฒนาการของเด็กอยู่ตลอดเวลา
4. เรื่องการให้ความร่วมมือ : การจะพัฒนาเด็กนั้น พ่อแม่ผู้ปกครองจะต้องให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียน ชุมชน และสังคม เอาใจใส่และเต็มใจที่จะร่วมมือกิจกรรมต่าง ๆ ที่ผู้มีความรู้ได้ให้ข้อคิดดี ๆ ในการพัฒนาเด็ก เช่น พรุ่งนี้ครูจะให้เด็กนำกล่องกระดาษมาทำกิจกรรมที่โรงเรียน เมื่อครูบอกเด็กและพ่อแม่ พ่อแม่ก็ต้องเอาใจใส่ในการหาสิ่งของดังกล่าวให้เด็ก เพื่อให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน ๆ อีกทั้งสามารถนำมาเผื่อเพื่อแบ่งปันเพื่อน ๆ ได้ ซึ่งจะเป็นการปลูกฝังให้เด็กเป็นคนมีน้ำใจอีกด้วย
5. เรื่องสิ่งต้องห้าม : เด็กจะมีพัฒนาการที่ดี แต่ต้องไม่พึ่งสิ่งเหล่านี้ เช่น การดูการ์ตูนจากโทรทัศน์ เล่นเกมในโทรศัพท์ เพราะถ้าไม่ได้รับการดูแล เอาใจใส่จากผู้ปกครอง เด็กอาจจะเข้าไปดูสื่อที่มีความไม่เหมาะสมได้ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ จะส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการที่ล่าช้าด้วย
4. การให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กหรือไม่อย่างไร จงอธิบาย
ตอบ ส่งผลต่อพฤติกรรมเด็ก เพราะพ่อแม่ ผู้ปกครองเป็นคนที่ใกล้ชิดและมีเวลาอยู่กับเด็กมากที่สุด เด็กวัยนี้ เป็นวัยที่เรียนรู้จากการกระทำ การเลียนแบบ ถ้าผู้ปกครองมีความรู้และสามารถนำมาใช้พัฒนาเด็กได้อย่างถูกต้อง เด็กก็จะมีพฤติกรรมที่ดี และเหมาะสมตามวัย พ่อแม่ผู้ปกครองจึงต้องเป็นผู้ที่มีความพร้อมและมีคุณภาพในการดูแลเด็ก
5. นักศึกษาจะมีวิธีในการติดตามผลการให้ความรู้ผู้ปกครองอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ อาจจะเป็นการสังเกตพฤติกรรมเด็ก การจดบันทึกพฤติกรรมต่าง ๆ ว่าเด็กมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นหรือไม่ รวมถึงการสอบถาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันกับผู้ปกครอง ว่าเด็กเป็นอย่างไร มีพัฒนาการที่ดีขึ้นหรือไม่ ควรแก้ไขและส่งเสริมในด้านใดเพิ่มเติม 


วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม 2559 เวลา 08.30-11.30 น.




เนื้อหาและความรู้ที่ได้รับ
บทที่ 3 การสื่อสารกับผู้ปกครองเด็กปฐมวัย


          อาจารย์เริ่มเข้าสู่บทเรียนด้วยการอธิบายเนื้อหาคร่าว ๆ ที่จะเรียนในวันนี้ และมีกิจกรรมการเล่นเกมมาให้นักศึกษาเล่น เพื่อความสนุกสนาน เตรียมพร้อมก่อนเรียน และทดสอบประสิทธิภาพในการสื่อสาร








เกมที่เล่น ได้แก่ เกมทายคำ (เป็นคำเดี่ยว ๆ และคำที่เชื่อมเป็นประโยคต่าง ๆ)
เกมพรายกระซิบ เกมใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร กับใคร

ความหมายของการสื่อสาร
          การสื่อสาร  (Communication) คือ กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูล จากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามผู้ส่งต้องการ

ความสำคัญของการสื่อสาร
          1.ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม
          2.ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย
          3.ทำให้สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น
          4.ทำให้เกิดภาพแห่งความพึงพอใจ
          5.ช่วยในการพัฒนาอัตมโนทัศน์ เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองก่อให้เกิดความพอใจในชีวิต

รูปแบบของการสื่อสาร
•  รูปแบบการสื่อสารของอริสโตเติล (Aristotle’s Model of Communication)
•  รูปแบบการสื่อสารของลาล์สเวล (Lasswell’s Model of Communication)
•  รูปแบบการสื่อสารของแชนนอนและวีเวอร์ (Shannon & Weaver’s Model of Communication)
•  รูปแบบการสื่อสารของออสกูดและชแรมม์ (C.E Osgood and Willbur Schramm’s)
•  รูปแบบการสื่อสารของเบอร์โล (Berlo’s Model of Communication) 

 

 

 

 

 

องค์ประกอบของการสื่อสาร
1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
5. ความเข้าใจและการตอบสนอง
วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
1. เพื่อแจ้งให้ทราบ
2. เพื่อความบันเทิงใจ
3. เพื่อชักจูงใจ
ประเภทของการสื่อสาร
1. จำแนกตามกระบวนการหรือการไหลของข่าวสาร
2. จำแนกตามภาษาสัญลักษณ์ที่แสดงออก
3. จำแนกตามจำนวนผู้สื่อสาร


ปัจจัย 7 ประการเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง
          ความพร้อม, ความต้องการ, อารมณ์และการปรับตัว, การจูงใจ, การเสริมแรง, ทัศนคติและความสนใจ, ความถนัด

อุปสรรคที่สำคัญของการสื่อสาร
•  ผู้ส่งข่าวสารขาดทักษะในการสื่อสารที่ดี เช่น ใช้ภาษาที่อยากแก่การเข้าใจ หรือไม่เหมาะแก่ผู้รับ
•  ข้อมูลข่าวสารมากเกินไป
•  ได้ข่าวสารไม่ครบสมบูรณ์ ทำให้สื่อความหมายผิดๆ
•  ข้อมูลที่ส่งไปผ่านหลายขั้นตอน
•  เลือกใช้เครื่องมือในการส่งข่าวสารไม่เหมาะสม

7 c กับการสื่อสารที่ดี
•  Credibility ความน่าเชื่อถือ 
•  Content เนื้อหาสาระ 
•  Clearly ความชัดเจน 
•  Context ความเหมาะสมกับโอกาส
•  Channel ช่องทางการส่งสาร 
•  Continuity consistency ความต่อเนื่องและแน่นอน
•  Clarity of audience ความสามารถของผู้รับสาร 

คุณธรรมที่สำคัญในการสื่อสาร
•  ความมีสัจจะและไม่ล่วงละเมิดสิทธิซึ่งกันและกัน
•  ความรัก ความเคารพและความปรารถนาดีต่อกัน
•  ความรับผิดชอบในสิ่งที่ตนพูดหรือกระทำ
•  เป็นพฤติกรรมด้านนอกของการสื่อสาร หมายถึงพฤติกรรมที่ปรากฏให้เห็นชัดเจน เช่นกิริยาอาการ  การเปล่งเสียงออกมาเป็นถ้อยคำ  การเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรรวมทั้ง รูปภาพ แผนภูมิและการใช้วัตถุต่างๆ
•  เป็นกิริยาวาจาที่เรียบร้อยถูกต้องตามคตินิยมของสังคม

วิธีการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปกครอง
-  ศึกษาและพยายามทำตนให้เข้าใจกับผู้ปกครอง
-  พยายามเรียนรู้ความต้องการของเขา และหาแนวทางตอบสนองตามความเหมาะสม
-  พูดคุย พบปะกับผู้ปกครองในโอกาสต่างๆ
-  หาโอกาสไปร่วมงานพิธีทางศาสนา เข้าร่วมกิจกรรมกับผู้ปกครอง
-  ทำตนให้กลมกลืนกับผู้ปกครอง
-  มีท่าทีเป็นมิตรอยู่เสมอ
-  เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองร่วมกิจกรรม

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • จากการเล่นเกม ทำให้มีทักษะในการสื่อสารมากขึ้น ซึ่งเราสามารถใช้ทั้งวัจนภาษา และอวัจนภาษาในการสื่อสารเพื่อทำความเข้าใจต่อกันได้ เป็นสิ่งที่สำคัญในการใช้ชีวิตประจำวัน เพราะถ้าหากสื่อสารผิดพลาดไปเล็กน้อย ก็อาจทำให้เป็นผลเสียทั้งหมดได้
  • การสื่อสาร ทำความเข้าใจกับผู้ปกครองนั้น เราต้องดูช่วงเวลาที่เหมาะสม สภาพแวดล้อม บรรยากาศ และเราสามารถจัดการศึกษาแก่ผู้ปกครอง ในรูปแบบของกิจกรรม การให้ของรางวัล ที่ไม่เป็นทางการ เพราะผู้ปกครองจะสนใจรูปแบบนี้มากกว่าการจัดแบบเป็นทางการ
  • เมื่อเรามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสื่อสารที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ก็จะทำให้เรามีทักษะการสื่อสารที่ดี ทั้งต่อเด็กและผู้ปกครองด้วย
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : อาจมีเล่นบ้าง ขณะอาจารย์อธิบาย แต่เมื่อดึงตัวเองกลับมาก็สามารถทำความเข้าใจกับเนื้อหาที่อาจารย์สอนได้ และมีความสนุกสนาน กระตือรือร้นในการทำกิจกรรม
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ กระตือรือร้นในการทำกิจกรรม ช่วยเหลือกันอย่างเต็มที่ มีความสามัคคีในการเล่นต่าง ๆ และตั้งใจเรียน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ตรงต่อเวลา และเตรียมการสอนมาดีมาก มีกิจกรรมให้เล่นเพื่อผ่อนคลาย เป็นการเรียนที่ไม่น่าเบื่อ เวลาสอน อาจารย์ก็ยกตัวอย่างประกอบ ยกประสบการณ์ที่อาจารย์เคยผ่านมาแล้ว เพื่อเป็นการอธิบายให้เข้าใจมากขึ้น

คำถามท้ายบท
1. จงอธิบายความหมายและความสำคัญของการสื่อสารมาโดยสังเขป
          ตอบ การสื่อสาร (Communication) คือ กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูล จากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ ความสำคัญของการสื่อสาร คือ ช่วยในการพัฒนาอัตมโนทัศน์ เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองก่อให้เกิดความพอใจในชีวิต สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น และทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม

2. การสื่อสารมีความสำคัญกับผู้ปกครองอย่างไร
          ตอบ การสื่อสารผู้ดูแลเด็กกับผู้ปกครอง เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างบ้านกับโรงเรียนเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็ก ผู้ปกครองต้องการทราบข้อมูลเกี่่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน ผู้ดูแลเด็กต้องการทราบข้อมูลสิ่งที่เกิดขึ้นที่บ้าน เพื่อหาแนวทางปฏิบัติร่วมกันระหว่างโรงเรียน ครอบครัวและชุมชน ทั้งผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครองมีอิทธิพลต่อการประสบความสำเร็จของเด็ก ดังนั้น การร่วมกันจัดประสบการณ์และสร้างสิ่งแวดล้อมทางบวกทั้งทางด้านกายภาพและด้านอารมณ์จึงช่วยส่งเสริมพัฒนาการและทำให้เด็กมีคุณภาพชีวิตที่ดี แม้ว่าปัจจัยหลักการเรียนรูู้ของเด็กเกิดจากการสื่อสารระหว่างผู้ดูแลเด็กกับเด็ก แต่การสื่อสารระหว่างผู้ดูแลเด็กกับผู้ปกครองจะช่วยสนับสนุนประสิทธิภาพของการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็ก

3. รูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการให้ความรู้ผู้ปกครอง ควรเป็นรูปแบบใด จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
          ตอบ รูปแบบการสื่อสารของลาล์สเวล เพราะมีลำดับขั้นดังนี้ ผู้ส่งสาร สาร สื่อ ผู้รับสาร และผล การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพนั้น ควรเป็นการสื่อสารสองทาง คือผู้ส่งสารและผู้รับสารควรได้มีปฏิสัมพันธ์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เช่น ครูให้ผู้ปกครองกลับไปพาเด็กซ้อมร้องเพลงช้าง เพื่อที่จะมาร้องให้ครูฟังในวันพรุ่งนี้ ปรากฏว่าผู้ปกครองได้ปฏิบัติตามและเด็กก็สามารถร้องเพลงช้างได้ เป็นต้น

4. ธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครองควรมีลักษณะอย่างไร
          ตอบ  เรียนรู้ได้ดีในเรื่องของการพัฒนาเด็ก
• เรียนรู้ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีความสมานฉันท์
• มีความแปลกใหม่และมีประโยชน์ต่อเด็ก
• เรียนรู้ได้ดีจากการฝึกปฏิบัติ
• เรียนรู้ได้ดีในบรรยากาศที่เป็นวิชาการน้อยที่สุด
• ควรได้รับความต่อเนื่องในการเรียนรู้ทีละขั้นตอน
• เรียนรู้ได้ดีจากสื่อและอุปกรณ์ที่หลากหลาย

5. ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนพฤติกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก ประกอบด้วยปัจจัยด้านใดบ้าง
          ตอบ ความพร้อม, ความต้องการ, อารมณ์และการปรับตัว, การจูงใจ, การเสริมแรง, ทัศนคติและความสนใจ, ความถนัด