เนื้อหาและความรู้ที่ได้รับ
บทที่ 4
โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองในและต่างประเทศ
โครงการการให้ความรู้ผูู้ปกครองในประเทศไทย
- โครงการแม่สอนลูก
- จัดสำหรับเด็กที่ด้อยโอกาส โดยให้มารดาเป็นผู้สอนเองที่บ้าน
- ใช้วิธีการแนะนำให้รู้จักใช้ทักษะ
รู้จักคิดและเรียนรู้มโนทัศน์ด้านต่างๆ
- ใช้รูปแบบการทดลองสอนแม่เพื่อสอนลูกที่บ้าน
โดยอาศัยรูปแบบโครงการการเยี่ยมบ้านของประเทศอิสราเอล
- โครงการแม่สอนลูก
- เป็นโครงการทดลองหารูปแบบในการให้ความรู้แก่กลุ่มสตรีแม่บ้านในชุมชน
ได้นำแนวทางของโปรงแกรม Hippy
Program ของประเทศอิสราเอล
-
เน้นให้ผู้ปกครองมีความพร้อมก่อนส่งลูกเข้าเรียน แม่จะส่งเสริมเด็กด้านต่างๆ เช่น
ภาษา การพัฒนากล้ามเนื้อ และสติปัญญา
- การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองในการอบรมเลี้ยงดูเด็กต่ำกว่า 3 ปี ผ่านโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัย
-
วิธีกระบวนการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วม
- วิธีการสนทนากลุ่ม
- วิธีอภิปรายกลุ่ม
- วิธีการบรรยาย
- โครงการ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย
- โครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างความเข็มแข็งของครอบครัว “บ้านล้อมรัก”
- โครงการหนังสือเล่มแรก (Bookstart Thailand)
โครงการหนังสือเล่มแรก เริ่มต้นขึ้นในปี 2546 โดยการริเริ่มของมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก
- โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัว
- โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัว
โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองในต่างประเทศ ยกตัวอย่างเช่น
- โครงการการให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในประเทศอิสราเอล ประเทศอิสราเอลถือเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาค่อนข้างสูง เพราะถือว่าการศึกษาคือการพัฒนามนุษย์ให้มีคุณภาพ
- โครงการศูนย์ส่งเสริมประสบการณ์เด็กปฐมวัย ที่เรียกว่า ALEH (Early Childhood Enrichment Center) สอนแม่ที่อายุยังน้อยให้รู้จักใช่สื่อ-อุปกรณ์ (ของเล่น) เกมการเล่นเพื่อพัฒนาเด็ก ประสานงานกับคลินิกครอบครัวแม่และเด็ก จัดกิจกรรมเสนอแนะให้แม่ที่ไม่เคยมีเวลาว่างไปร่วมในศูนย์ ALEH เพื่อจัดกิจกรรมในข้อขั้นต้น
- โครงการเสนอแนะให้แม่สอนลูก เลี้ยงลูกอย่างไรให้ถูกวิธี โครงการนี้ชื่อ HATAF โปรแกรม เป็นโครงการที่ร่วมมือกันทำระหว่างมหาวิทยาลัยเยรูซาเล็มกับกระทรวงศึกษาธิการ เป็นโครงการที่จัดรูปแบบการสอนพ่อแม่ที่มีลูกอายุ 1-3ปี
- โครงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับผู้ปกครองและเด็ก จัดขึ้นสำหรับเด็ก 4-6 ปี พร้อมด้วยพ่อแม่ ผู้ปกครอง โดยมีวิทยากรเป็นครูจากเนสเซอรี่ หรือ รร.อนุบาลหรือผู้เชี่ยวชาญทางศิลปะ-ดนตรี เกมการศึกษา นาฏศิลป์ ร้องรำทำเพลง ฯลฯ
- โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศสหรัฐอเมริกา มีการจัดทำหลักสูตรการให้ความรู้ผู้ปกครองไว้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการศึกษาระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาของทุกรัฐ
- โครงการศูนย์ข้อมูลพ่อแม่ มีการจัดตั้ง ศูนย์ข้อมูลพ่อแม่ ขึ้นในทุกรัฐ โดยการดำเนินงานนั้นให้ผ่านไปยังองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ (NGO) โดยให้การอบรมความรู้และข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ปกครอง ภายใต้คำนิยาม การศึกษาของพ่อแม่ โครงการพ่อแม่ในฐานะครู และโครงการสอนเด็กเล็กในบ้าน
- โครงการ เฮดสตาร์ท (Head Start) เป็นโครงการระดับชาติที่ให้บริการด้านพัฒนาการแก่เด็กอายุ 3-5 ปี ที่พ่อแม่มีรายได้น้อย และบริการด้านสังคมแก่ครอบครัวของเด็กเหล่านั้น
- โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศอังกฤษ (Bookstart UK) หรือเรียกว่า “หนังสือเล่มแรก” ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2535 โดย นางเวนดี้ คูลลิ่ง ภายใต้ บุ๊คทรัสต์ ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลที่มีจุดมุ่งหมายในการนำหนังสือสู่คน นำคนสู่หนังสือ ด้วยการจัดสรรให้เด็กทารกทุกคนได้รับ “ถุงบุ๊คสตาร์ท”
- โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศญี่ปุ่น (Bookstart Japan) เมื่อปี พ.ศ. 2543 ญี่ปุ่นประกาศให้เป็น “ปีแห่งการอ่านของเด็ก” และได้มีการนำโครงการบุ๊คสตาร์ทของประเทศอังกฤษเข้ามาเผยแพร่ในญี่ปุ่น
“ถุงบุ๊คสตาร์ท”
ภายในถุงประกอบด้วย
- หนังสือที่ได้รับการคัดสรรแล้ว 2 เล่ม
- หนังสือแนะนำพ่อแม่ด้วยภาพเกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็กและโยงไปถึงการเลี้ยงดูด้วยหนังสือ
- ของชำร่วยสำหรับเด็ก เช่น ผ้ารองจานฯลฯ
- แผนที่แนะนำห้องสมุดแถวละแวกบ้าน
- บัตรสมาชิกห้องสมุดสำหรับเด็ก
- รายชื่อหนังสือสำหรับเด็ก
- รายชื่อศูนย์สนับสนุนคุณแม่เลี้ยงลูก
จากนั้น อาจารย์ก็มี VDO มาให้ดู จากรายการ Lightning Talk กับ สายสวรรค์ ขยันยิ่ง โดยมีแขกรับเชิญคือ คุณตุ๊บปอง กรรมการผู้จัดการมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็กและผู้จัดการโครงการหนังสือเล่มแรกในประเทศไทย มาให้ความรู้ ตอนหนังสือเล่มแรก Book Start https://www.youtube.com/watch?v=WbveNLAArvI คลิกเพื่อดู VDO
สรุปคร่าว ๆ ดังนี้ โครงการหนังสือเล่มแรกในประเทศไทย เริ่มต้นขึ้นในปี 2546 โดยการริเริ่มของมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก มีเป้าหมายที่จะให้พ่อแม่ลูกมีความสุขร่วมกันในโลกของหนังสือ
สร้างพื้นฐานการอ่านและสานสัมพันธ์ในครอบครัว
ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยนิสัยรักการอ่าน โดยการจัดทำถุงบุ๊คสตาร์ท (book
start) ติดตามประเมินผลครอบครัวในโครงการ ซึ่งมีต้นแบบมาจาก โครงการ บุ๊คสตาร์ท หรือเรียกว่า “หนังสือเล่มแรก” ของประเทศอังกฤษ เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2535 และโครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศญี่ปุ่น
(Bookstart Japan) เมื่อปี 2543 ซึ่งญี่ปุ่นประสบความสำเร็จมากกว่าอังกฤษ
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- เมื่อได้เรียนรู้เกี่ยวกับโครงการต่าง ๆ ที่เป็นการให้ความรู้ ให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศ ทำให้ได้รับความรู้ ประสบการณ์ใหม่ ๆ จากโครงการที่ได้ศึกษาเพิ่มมากขึ้น ทำให้สามารถเปรียบเทียบข้อแตกต่างของแต่ละโครงการ และนำข้อดีของแต่ละโครงการมาประยุกต์ในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองได้
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน แต่อาจจะมีเล่นบ้าง ในชั่วโมงเรียนอาจจะยังไม่เข้าใจมากนัก เพราะเนื้อหามีมากเกินไป เมื่อกลับมาทบทวนอีกครั้งก็ทำให้เข้าใจมากขึ้น
ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจเรียน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนและอาจารย์ด้วย
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายและสอนเรื่องที่อาจจะมีเนื้อหาเยอะ ให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น เป็นกันเองกับนักศึกษา จึงทำให้บรรยากาศในการเรียนไม่เคร่งเครียด
คำถามท้ายบท
1. ในการดำเนินโครงการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศมีเป้าหมาย
ร่วมกันอย่างไร
ตอบ มีเป้าหมายเพื่อให้บ้าน โรงเรียน ชุมชน และสังคมจากภาครัฐและภาคเอกชน มีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็ก เป็นการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการศึกษาเด็กปฐมวัยให้ไปในทิศทางเดียวกัน
2. นักศึกษามีแนวคิดอย่างไรที่จะสนับสนุนให้โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จ
2. นักศึกษามีแนวคิดอย่างไรที่จะสนับสนุนให้โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จ
อย่างเป็นรูปธรรม
จงอธิบาย
ตอบ แนวคิดคือ การนำความรู้ประสบการณ์ของแต่ละโครงการที่ทดลองแล้วได้ผลตอบรับที่ดี หรือประสบความสำเร็จ มาประยุกต์ใช้ในการให้ความรู้ผู้ปกครองหรือการทำงานในอนาคต ซึ่งสามารถนำมาใช้กับคนในครอบครัวของเราได้อีกด้วย ส่วนผลตอบรับที่เป็นรูปธรรมนั้น ก็ต้องสังเกตว่าเด็กมีความพร้อมในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ มีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัยหรือไม่ คุณภาพของเด็กเป็นอย่างไร หากนำโครงการต่าง ๆ ไปให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง แล้วเด็กมีพัฒนาการที่ดี ก็แสดงว่าโครงการนั้น ๆ ประสบความสำเร็จ
3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นผู้ที่ให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในอนาคต
จงยกตัวอย่างขององค์ความรู้หรือเรื่องที่ต้องการจะถ่ายทอดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อใช้
ในการเลี้ยงดูเด็กมา 5 เรื่องพร้อมอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ 1. เรื่องเลี้ยงดู : เป็นการให้ความรู้ว่าเด็กควรได้รับการเลี้ยงดูอย่างไร ในแต่ละช่วงวัย เช่น อาหารตามโภชนาการ การส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
2. เรื่องการอบรมสั่งสอน : เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการอบรมสั่งสอนลูกในสิ่งที่ดี ปลูกฝังและเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็ก กิริยามารยาทการอยู่ในสังคม กาลเทศะต่าง ๆ เช่น การพาลูกไปวัด ไปทำบุญ จะต้องแต่งกายอย่างไร การฝึกให้เด็กทำความดี ช่วยเหลือแบ่งเบาภาระครอบครัว
3. เรื่องการส่งเสริมการเรียนรู้ : เด็กแต่ละช่วงวัยมีพัฒนาการที่แตกต่างกันไป การส่งเสริม สนับสนุนให้เด็กได้มีพัฒนาการที่สมบูรณ์ตามวัยเป็นสิ่งสำคัญมาก เช่น การให้เด็กเรียนรู้จากหนังสือนิทาน การทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างอิสระ โดยพ่อแม่มีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้น ๆ ด้วย พ่อแม่ต้องเอาใจใส่ และเฝ้าดูพัฒนาการของเด็กอยู่ตลอดเวลา
4. เรื่องการให้ความร่วมมือ : การจะพัฒนาเด็กนั้น พ่อแม่ผู้ปกครองจะต้องให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียน ชุมชน และสังคม เอาใจใส่และเต็มใจที่จะร่วมมือกิจกรรมต่าง ๆ ที่ผู้มีความรู้ได้ให้ข้อคิดดี ๆ ในการพัฒนาเด็ก เช่น พรุ่งนี้ครูจะให้เด็กนำกล่องกระดาษมาทำกิจกรรมที่โรงเรียน เมื่อครูบอกเด็กและพ่อแม่ พ่อแม่ก็ต้องเอาใจใส่ในการหาสิ่งของดังกล่าวให้เด็ก เพื่อให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน ๆ อีกทั้งสามารถนำมาเผื่อเพื่อแบ่งปันเพื่อน ๆ ได้ ซึ่งจะเป็นการปลูกฝังให้เด็กเป็นคนมีน้ำใจอีกด้วย
5. เรื่องสิ่งต้องห้าม : เด็กจะมีพัฒนาการที่ดี แต่ต้องไม่พึ่งสิ่งเหล่านี้ เช่น การดูการ์ตูนจากโทรทัศน์ เล่นเกมในโทรศัพท์ เพราะถ้าไม่ได้รับการดูแล เอาใจใส่จากผู้ปกครอง เด็กอาจจะเข้าไปดูสื่อที่มีความไม่เหมาะสมได้ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ จะส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการที่ล่าช้าด้วย
2. เรื่องการอบรมสั่งสอน : เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการอบรมสั่งสอนลูกในสิ่งที่ดี ปลูกฝังและเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็ก กิริยามารยาทการอยู่ในสังคม กาลเทศะต่าง ๆ เช่น การพาลูกไปวัด ไปทำบุญ จะต้องแต่งกายอย่างไร การฝึกให้เด็กทำความดี ช่วยเหลือแบ่งเบาภาระครอบครัว
3. เรื่องการส่งเสริมการเรียนรู้ : เด็กแต่ละช่วงวัยมีพัฒนาการที่แตกต่างกันไป การส่งเสริม สนับสนุนให้เด็กได้มีพัฒนาการที่สมบูรณ์ตามวัยเป็นสิ่งสำคัญมาก เช่น การให้เด็กเรียนรู้จากหนังสือนิทาน การทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างอิสระ โดยพ่อแม่มีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้น ๆ ด้วย พ่อแม่ต้องเอาใจใส่ และเฝ้าดูพัฒนาการของเด็กอยู่ตลอดเวลา
4. เรื่องการให้ความร่วมมือ : การจะพัฒนาเด็กนั้น พ่อแม่ผู้ปกครองจะต้องให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียน ชุมชน และสังคม เอาใจใส่และเต็มใจที่จะร่วมมือกิจกรรมต่าง ๆ ที่ผู้มีความรู้ได้ให้ข้อคิดดี ๆ ในการพัฒนาเด็ก เช่น พรุ่งนี้ครูจะให้เด็กนำกล่องกระดาษมาทำกิจกรรมที่โรงเรียน เมื่อครูบอกเด็กและพ่อแม่ พ่อแม่ก็ต้องเอาใจใส่ในการหาสิ่งของดังกล่าวให้เด็ก เพื่อให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน ๆ อีกทั้งสามารถนำมาเผื่อเพื่อแบ่งปันเพื่อน ๆ ได้ ซึ่งจะเป็นการปลูกฝังให้เด็กเป็นคนมีน้ำใจอีกด้วย
5. เรื่องสิ่งต้องห้าม : เด็กจะมีพัฒนาการที่ดี แต่ต้องไม่พึ่งสิ่งเหล่านี้ เช่น การดูการ์ตูนจากโทรทัศน์ เล่นเกมในโทรศัพท์ เพราะถ้าไม่ได้รับการดูแล เอาใจใส่จากผู้ปกครอง เด็กอาจจะเข้าไปดูสื่อที่มีความไม่เหมาะสมได้ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ จะส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการที่ล่าช้าด้วย
4. การให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กหรือไม่อย่างไร จงอธิบาย
ตอบ ส่งผลต่อพฤติกรรมเด็ก เพราะพ่อแม่ ผู้ปกครองเป็นคนที่ใกล้ชิดและมีเวลาอยู่กับเด็กมากที่สุด เด็กวัยนี้ เป็นวัยที่เรียนรู้จากการกระทำ การเลียนแบบ ถ้าผู้ปกครองมีความรู้และสามารถนำมาใช้พัฒนาเด็กได้อย่างถูกต้อง เด็กก็จะมีพฤติกรรมที่ดี และเหมาะสมตามวัย พ่อแม่ผู้ปกครองจึงต้องเป็นผู้ที่มีความพร้อมและมีคุณภาพในการดูแลเด็ก
5. นักศึกษาจะมีวิธีในการติดตามผลการให้ความรู้ผู้ปกครองอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ อาจจะเป็นการสังเกตพฤติกรรมเด็ก การจดบันทึกพฤติกรรมต่าง ๆ ว่าเด็กมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นหรือไม่ รวมถึงการสอบถาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันกับผู้ปกครอง ว่าเด็กเป็นอย่างไร มีพัฒนาการที่ดีขึ้นหรือไม่ ควรแก้ไขและส่งเสริมในด้านใดเพิ่มเติม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น