เนื้อหาและความรู้ที่ได้รับ
บทที่ 3 การสื่อสารกับผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
อาจารย์เริ่มเข้าสู่บทเรียนด้วยการอธิบายเนื้อหาคร่าว ๆ ที่จะเรียนในวันนี้ และมีกิจกรรมการเล่นเกมมาให้นักศึกษาเล่น เพื่อความสนุกสนาน เตรียมพร้อมก่อนเรียน และทดสอบประสิทธิภาพในการสื่อสาร
เกมที่เล่น ได้แก่ เกมทายคำ (เป็นคำเดี่ยว ๆ และคำที่เชื่อมเป็นประโยคต่าง ๆ)
เกมพรายกระซิบ เกมใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร กับใคร
ความหมายของการสื่อสาร
การสื่อสาร (Communication) คือ กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูล จากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร
มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา
โดยคาดหวังให้เป็นไปตามผู้ส่งต้องการ
ความสำคัญของการสื่อสาร
1.ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม
2.ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง
2 ฝ่าย
3.ทำให้สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น
4.ทำให้เกิดภาพแห่งความพึงพอใจ
5.ช่วยในการพัฒนาอัตมโนทัศน์
เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองก่อให้เกิดความพอใจในชีวิต
รูปแบบของการสื่อสาร
• รูปแบบการสื่อสารของอริสโตเติล (Aristotle’s Model of
Communication)
• รูปแบบการสื่อสารของลาล์สเวล (Lasswell’s Model of
Communication)
• รูปแบบการสื่อสารของแชนนอนและวีเวอร์ (Shannon &
Weaver’s Model of Communication)
• รูปแบบการสื่อสารของออสกูดและชแรมม์ (C.E Osgood and Willbur Schramm’s)
• รูปแบบการสื่อสารของเบอร์โล (Berlo’s Model of
Communication)
องค์ประกอบของการสื่อสาร
2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
5. ความเข้าใจและการตอบสนอง
วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
1. เพื่อแจ้งให้ทราบ
2. เพื่อความบันเทิงใจ
3. เพื่อชักจูงใจ
ประเภทของการสื่อสาร
2. เพื่อความบันเทิงใจ
3. เพื่อชักจูงใจ
ประเภทของการสื่อสาร
1.
จำแนกตามกระบวนการหรือการไหลของข่าวสาร
2. จำแนกตามภาษาสัญลักษณ์ที่แสดงออก
3. จำแนกตามจำนวนผู้สื่อสาร
2. จำแนกตามภาษาสัญลักษณ์ที่แสดงออก
3. จำแนกตามจำนวนผู้สื่อสาร
ปัจจัย 7 ประการเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง
ความพร้อม, ความต้องการ, อารมณ์และการปรับตัว, การจูงใจ, การเสริมแรง, ทัศนคติและความสนใจ, ความถนัด
อุปสรรคที่สำคัญของการสื่อสาร
• ผู้ส่งข่าวสารขาดทักษะในการสื่อสารที่ดี
เช่น ใช้ภาษาที่อยากแก่การเข้าใจ หรือไม่เหมาะแก่ผู้รับ
• ข้อมูลข่าวสารมากเกินไป
• ได้ข่าวสารไม่ครบสมบูรณ์
ทำให้สื่อความหมายผิดๆ
• ข้อมูลที่ส่งไปผ่านหลายขั้นตอน
• เลือกใช้เครื่องมือในการส่งข่าวสารไม่เหมาะสม
7
c กับการสื่อสารที่ดี
• Credibility ความน่าเชื่อถือ
• Content เนื้อหาสาระ
• Clearly ความชัดเจน
• Context ความเหมาะสมกับโอกาส
• Channel ช่องทางการส่งสาร
• Continuity
consistency ความต่อเนื่องและแน่นอน
• Clarity of audience ความสามารถของผู้รับสาร
คุณธรรมที่สำคัญในการสื่อสาร
• ความมีสัจจะและไม่ล่วงละเมิดสิทธิซึ่งกันและกัน
• ความรัก
ความเคารพและความปรารถนาดีต่อกัน
• ความรับผิดชอบในสิ่งที่ตนพูดหรือกระทำ
• เป็นพฤติกรรมด้านนอกของการสื่อสาร
หมายถึงพฤติกรรมที่ปรากฏให้เห็นชัดเจน เช่นกิริยาอาการ การเปล่งเสียงออกมาเป็นถ้อยคำ การเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรรวมทั้ง รูปภาพ
แผนภูมิและการใช้วัตถุต่างๆ
• เป็นกิริยาวาจาที่เรียบร้อยถูกต้องตามคตินิยมของสังคม
วิธีการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปกครอง
- ศึกษาและพยายามทำตนให้เข้าใจกับผู้ปกครอง
- พยายามเรียนรู้ความต้องการของเขา
และหาแนวทางตอบสนองตามความเหมาะสม
- พูดคุย พบปะกับผู้ปกครองในโอกาสต่างๆ
- หาโอกาสไปร่วมงานพิธีทางศาสนา
เข้าร่วมกิจกรรมกับผู้ปกครอง
- ทำตนให้กลมกลืนกับผู้ปกครอง
- มีท่าทีเป็นมิตรอยู่เสมอ
- เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองร่วมกิจกรรม
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- จากการเล่นเกม ทำให้มีทักษะในการสื่อสารมากขึ้น ซึ่งเราสามารถใช้ทั้งวัจนภาษา และอวัจนภาษาในการสื่อสารเพื่อทำความเข้าใจต่อกันได้ เป็นสิ่งที่สำคัญในการใช้ชีวิตประจำวัน เพราะถ้าหากสื่อสารผิดพลาดไปเล็กน้อย ก็อาจทำให้เป็นผลเสียทั้งหมดได้
- การสื่อสาร ทำความเข้าใจกับผู้ปกครองนั้น เราต้องดูช่วงเวลาที่เหมาะสม สภาพแวดล้อม บรรยากาศ และเราสามารถจัดการศึกษาแก่ผู้ปกครอง ในรูปแบบของกิจกรรม การให้ของรางวัล ที่ไม่เป็นทางการ เพราะผู้ปกครองจะสนใจรูปแบบนี้มากกว่าการจัดแบบเป็นทางการ
- เมื่อเรามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสื่อสารที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ก็จะทำให้เรามีทักษะการสื่อสารที่ดี ทั้งต่อเด็กและผู้ปกครองด้วย
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : อาจมีเล่นบ้าง ขณะอาจารย์อธิบาย แต่เมื่อดึงตัวเองกลับมาก็สามารถทำความเข้าใจกับเนื้อหาที่อาจารย์สอนได้ และมีความสนุกสนาน กระตือรือร้นในการทำกิจกรรม
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ กระตือรือร้นในการทำกิจกรรม ช่วยเหลือกันอย่างเต็มที่ มีความสามัคคีในการเล่นต่าง ๆ และตั้งใจเรียน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ตรงต่อเวลา และเตรียมการสอนมาดีมาก มีกิจกรรมให้เล่นเพื่อผ่อนคลาย เป็นการเรียนที่ไม่น่าเบื่อ เวลาสอน อาจารย์ก็ยกตัวอย่างประกอบ ยกประสบการณ์ที่อาจารย์เคยผ่านมาแล้ว เพื่อเป็นการอธิบายให้เข้าใจมากขึ้น
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ตรงต่อเวลา และเตรียมการสอนมาดีมาก มีกิจกรรมให้เล่นเพื่อผ่อนคลาย เป็นการเรียนที่ไม่น่าเบื่อ เวลาสอน อาจารย์ก็ยกตัวอย่างประกอบ ยกประสบการณ์ที่อาจารย์เคยผ่านมาแล้ว เพื่อเป็นการอธิบายให้เข้าใจมากขึ้น
คำถามท้ายบท
1. จงอธิบายความหมายและความสำคัญของการสื่อสารมาโดยสังเขป
ตอบ การสื่อสาร (Communication)
คือ กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูล จากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร
มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา
โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ ความสำคัญของการสื่อสาร คือ ช่วยในการพัฒนาอัตมโนทัศน์
เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองก่อให้เกิดความพอใจในชีวิต สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น และทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม
2. การสื่อสารมีความสำคัญกับผู้ปกครองอย่างไร
ตอบ การสื่อสารผู้ดูแลเด็กกับผู้ปกครอง เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างบ้านกับโรงเรียนเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็ก ผู้ปกครองต้องการทราบข้อมูลเกี่่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน ผู้ดูแลเด็กต้องการทราบข้อมูลสิ่งที่เกิดขึ้นที่บ้าน เพื่อหาแนวทางปฏิบัติร่วมกันระหว่างโรงเรียน ครอบครัวและชุมชน ทั้งผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครองมีอิทธิพลต่อการประสบความสำเร็จของเด็ก ดังนั้น การร่วมกันจัดประสบการณ์และสร้างสิ่งแวดล้อมทางบวกทั้งทางด้านกายภาพและด้านอารมณ์จึงช่วยส่งเสริมพัฒนาการและทำให้เด็กมีคุณภาพชีวิตที่ดี แม้ว่าปัจจัยหลักการเรียนรูู้ของเด็กเกิดจากการสื่อสารระหว่างผู้ดูแลเด็กกับเด็ก แต่การสื่อสารระหว่างผู้ดูแลเด็กกับผู้ปกครองจะช่วยสนับสนุนประสิทธิภาพของการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็ก
3. รูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการให้ความรู้ผู้ปกครอง
ควรเป็นรูปแบบใด จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ รูปแบบการสื่อสารของลาล์สเวล เพราะมีลำดับขั้นดังนี้ ผู้ส่งสาร สาร สื่อ ผู้รับสาร และผล การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพนั้น ควรเป็นการสื่อสารสองทาง คือผู้ส่งสารและผู้รับสารควรได้มีปฏิสัมพันธ์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เช่น ครูให้ผู้ปกครองกลับไปพาเด็กซ้อมร้องเพลงช้าง เพื่อที่จะมาร้องให้ครูฟังในวันพรุ่งนี้ ปรากฏว่าผู้ปกครองได้ปฏิบัติตามและเด็กก็สามารถร้องเพลงช้างได้ เป็นต้น
4. ธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครองควรมีลักษณะอย่างไร
ตอบ •
เรียนรู้ได้ดีในเรื่องของการพัฒนาเด็ก
• เรียนรู้ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีความสมานฉันท์
• มีความแปลกใหม่และมีประโยชน์ต่อเด็ก
• เรียนรู้ได้ดีจากการฝึกปฏิบัติ
• เรียนรู้ได้ดีในบรรยากาศที่เป็นวิชาการน้อยที่สุด
• ควรได้รับความต่อเนื่องในการเรียนรู้ทีละขั้นตอน
• เรียนรู้ได้ดีจากสื่อและอุปกรณ์ที่หลากหลาย
5. ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนพฤติกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้ปกครอง
เพื่อให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก ประกอบด้วยปัจจัยด้านใดบ้าง
ตอบ ความพร้อม, ความต้องการ, อารมณ์และการปรับตัว, การจูงใจ, การเสริมแรง, ทัศนคติและความสนใจ, ความถนัด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น